วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550

มุมมอง ทัศนะนักพัฒนา

หมู่นี้ เวลาไปเข้าเวทีประชุม สัมมนาในแวดวงการพัฒนาทีไร มักได้ยินวิทยากร ผู้บรรยาย
พูดภาษาไทย แต่มีศัพท์ภาษาอังกฤษปนอยู่เสมอ ที่เป็นเช่นนี้ อาจแสดงให้เห็นอะไรได้หลายอย่าง เป็นเพราะคนพูดถนัดใช้ภาษาต่างประเทศ หรือไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรืออาจเป็นเพราะวิทยาการสมัยใหม่ ส่วนใหญ่เขียนหรือมาจากภาษาต่างประเทศ หรือเพราะปัจจัยอื่นๆ แต่ ในที่สุด เราคงหลีกเลี่ยงภาษาต่างประเทศไม่ได้เสียทั้งหมด

ในแวดวงพช.หมู่นี้ ก็มีศัพท์ภาษาอังกฤษน่าสนใจ เกี่ยวข้องอยู่หลายคำ จึงขอนำเสนอ ขยายความ เผื่ออาจเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ ปฏิบัติบ้าง ดังนี้ครับ

Best Practice (วิธีการปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จ) หมายถึง วิธีหรือเทคนิคการทำงานที่คนปฏิบัติอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้รับการพิสูจน์ หรือยอมรับว่าดีเหมาะสม และนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ทำ
คำนี้ใช้มากในแวดวงการสาธารณสุข การศึกษา การบริหารจัดการองค์การ เป็นต้น
จากคำนิยาม การกระทำที่ประสบผลสำเร็จหรือวิธีดีที่สุด ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกที่

Community of Practice (ชุมชนแห่งการปฏิบัติ) หมายถึง กลุ่มคนที่มีวัตรปฏิบัติ หรือมีความสนใจ หรือมีความความรู้ ความชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหมือนๆ กัน โดยอาจอยู่กันคนละที่ ก็ได้ อีกคำคือคำว่า
Lessons learned หรือ Lessons Identified (สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ หรือบทเรียน การถอดบทเรียน) หมายถึง การดึงเอาความรู้ ประสบการณ์ในปฏิบัติการงาน ในเรื่องใดเรื่อง หนึ่งที่ได้ทำมา ไม่ว่าเป็นเรื่องผลสำเร็จ หรือความล้มเหลวก็ได้ แล้วนำสิ่งที่ได้ไปแก้ไข ปรับปรุงงานต่อไป เพื่อให้ได้ผลอย่างน่าพอใจ

Expertice Locator (แปลง่ายๆว่า การค้นหาความชำนาญ หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) อันนี้ก็จำเป็นในองค์การมากครับ การค้นหาก็เพื่อให้เป็นตัวอย่าง แม่แบบ หรือช่วยการเรียนรู้ แก่คนอื่นๆ ในหมู่เจ้าหน้าที่เรามีคนเก่งมากมาย ลองค้นหา แล้วใช้ประโยชน์ได้ น่าจะดี
Evident report database หมายถึงหลักฐานที่ชัดแจ้ง หรือเชิงประจักษ์ ซึ่งพวกเราชอบเรียก/ ถามหากัน มีความสำคัญไม่น้อย ที่จะบอกว่าได้ทำจริงหรือไม่ เพื่อเป็นบทพิสูจน์การทำงาน

Alert System หมายถึง ระบบเตือนภัย พูดง่ายๆ คือวิธีการจัดการความเสี่ยง (Risk) ในองค์การ ซึ่งขณะนี้ มีการพูดถึงกันมาก เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม มองระยะยาว
การวางแผนที่ดี เลยต้องเอาประเด็นนี้เข้าพิจารณาด้วย เรื่องเหล่านี้มีคำว่าระบบ (System) ต่อท้าย อะไรที่เป็นระบบ ก็แสดงว่า มีคนทำหลายคน หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งหลายสิ่ง/หลายคน ทำคนเดียวไม่ได้ครับ

ศัพท์เหล่านี้ เราชาวพช.ได้ยินจนเริ่มคุ้นหูแล้ว ว่ากันว่าคำทั้ง 5 (ยกเว้นCommunity of Practice) จริงๆแล้ว ก็คือเป้าหมายของการจัดการความรู้ หรือที่เรียกว่า KM. (Knowledge Management) นั่นเอง ซึ่งกว่าจะบรรลุเป้าหมายการจัดการความรู้ได้ เราต้องใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing of Knowledge) หรือบางคน ก็เรียกว่าการเสวนา (Dialogue) กันเสียก่อน

เห็นไหมครับ ว่าคำเหล่านี้มันเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ กันอยู่ การจัดการความรู้ จึงต้องใช้วิธีการหนึ่ง ที่เรียกว่าการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่เป้าหมาย 5 ประการ ( ตามคำศัพท์ ) ที่ว่า
แล้ว....

ไม่มีความคิดเห็น: