วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รายชื่อนักบริหารงานพัฒนาชุมชนระดับกลาง (นพก.) รุ่นที่ 27

รายชื่อนักบริหารงานพัฒนาชุมชนระดับกลาง (นพก.) รุ่นที่ 27
ที่ได้ยื่นใบสมัครมายังกรมแล้วและประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ
ณ 02/10/52 15:38:04 น.

1. นางกนกวรรณ ติณจินดา (สพจ.นนทบุรี)
2. นางสาวกัลยา ศรีสวัสดิ์ (สพจ.นครนายก)
3. นายขวัญ พฤกษติกุล (สพจ.อุบลราชธานี)
4. นายคุณาสิน อินทรามะ (สพจ.อำนาจเจริญ)
5. นางสาวเครือวัลย์ สุริยะจันทร์ (สพจ.นครราชสีมา)
6. นายจตุพล ศรีดำ (สพจ.นครศรีธรรมราช)
7. นายจำลอง ศรียะพันธุ์ (สพจ.นราธิวาส)
8. นางเฉลา ผดุงพงษ์ (สพจ.ลำปาง)
9. นางรัชนีย์ จันเสงี่ยม (สพจ.ชลบุรี)
10. นายชัยวัฒน์ สมวงศ์ (สพจ.อุบลราชธานี)
11. นางชุรีย์พรรณ ทองสว่าง (สพจ.อุตรดิตถ์)
12. นายณรงค์ ประพฤติชอบ (สพจ.นราธิวาส)
13. นายณัฏฐิพล วงศ์เมธี (สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น)
14. นายณัฐดนัย โสมโสรส (สพจ.เพชรบูรณ์ ปฏิบัติหน้าที่ จ.สมุทรสงคราม
)
15. นางทัศนีย์ แสงจันทร์ (สพจ.อุบลราชธานี)
16. นางเทียมใจ ทรัพย์ประภา (สพจ.อุทัยธานี)
17. นายธนชัย ชูแนม (สพจ.สุราษฎร์ธานี)
18. นางนฤชล ทองผาสุก (สพจ.สระบุรี)
19. นางนวลจันทร์ ศรีมงคล (สพจ.ร้อยเอ็ด)
20. นางนิตยา มะลิขาว (สพจ.ราชบุรี)
21. นายนิสิต สะมาลา (สพจ.ปัตตานี)
22. ว่าที่ ร.ท.บุญเกิด เมืองแวง (โอน)
23. นางบุณยวีร์ ทองสิงห์ (สพจ.บุรีรัมย์)
24. นายบุญเลิศ สายทอง (กองการเจ้าหน้าที่)
25. นางสาวบุศราวรรณ เรืองช่อ (สพจ.ขอนแก่น)
26. นายประจักษ์จิตร สายนะที (สพจ.ลำปาง)
27. นายประวิทย์ พรหมสาขา ณ สกลนคร (สพจ.สุรินทร์)
28. นายประสาท ทัศดร (สพจ.สกลนคร)
29. นายปลื้ม นับถือบุญ (สพจ. นนทบุรี)
30. นางพรทิพย์ จิตรแห่ง (สพจ.พัทลุง)
31. นายไพศิษฏ์ อินทรโยธา (สพจ.สุราษฎร์ธานี)
32. นางสาวภคพร ข้องหลิม (สพจ.สิงห์บุรี)
33. นายภาณุวัฒน์ ภูฆัง (สพจ.สุพรรณบุรี)

34. นางสาวยุพา กลิ่นหอม (สพจ.พิษณุโลก)
35. นางสาวรักนิกร แสนทวีสุข (สพจ.อุบลราชธานี)
36. นางวชิรพร แจ้งเอี่ยม (สพจ.หนองบัวลำภู)
37. นายวรวิช สากลวิจิตร (สพจ.อุบลราชธานี)
38. นายวิทยา ชุมภูคำ (สพจ.เชียงใหม่)
39. นายวินัย สุปินะ (สพจ.น่าน)
40. นางศิริวรรณ นนท์ตา (สพจ.อุบลราชธานี
)
41. นายสมคิด คำเสียง (สพจ.ศรีสะเกษ)
42. นายสมนึก บุญยี่ (สพจ.แม่ฮ่องสอน)
43. นายทชภณ คงวิจิตร (สพจ.จันทบุรี)
44. นางสมศรี ประชาบุตร (สพจ.กระบี่)
45. นายสมศักดิ์ สิทธิธรรม (สพจ.ชัยนาท)
46. นายสมาน นวลจันทร็ (สพจ.อุดรธานี)
47. นายสันติ วิทวุฒิศักดิ์ (สำนักตรวจราชการ กรมฯ)
48. นายสาธร มีโคคา (สพจ.อ่างทอง)
49. นางสินนภา น้ำมั่นคง (สพจ.สมุทรปราการ)
50. นางสุจิตรา หนูอินทร์ (สพจ.ตรัง)
51. นายสุชาติ ภคพาณิชย์ (สพจ.นครพนม)
52. ว่าที่ ร.ต.สุนิมิต ชุมพงษ์ (สพจ.พิษณุโลก)
53. นายสุรพันธ์ สุริยพันตรี (สพจ.ศรีสะเกษ)
54. นายสุริยา บุญเรืองยศศิริ (สพจ.กาญจนบุรี
)
55. นายอดิศักดิ์ มุสิกดิลก (สพจ.ระยอง)
56. นายอภิชาต จิตร์พาณิชย์ (สพจ.กระบี่)
57. นางอรพิน ภาพันธุ์ (ศอ.บต.)
58. นางสาวอรวรรณ ศรีเกตุ (สพจ.สงขลา)
59. นางสาวอัญชนิดา กมลเพ็ชร (สพจ.ขอนแก่น)
60. นางอุไร พิทยกิตติวงศ์ (สพจ.ขอนแก่น)

สีแดง หรือขีดเส้นใต้ หมายถึง ; รายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่ได้ส่งใบแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าหลักสูตรอบรม ฯ เรียบร้อยแล้ว รวม 39 ราย ผู้ที่ประสงค์เข้าอบรมฯครั้งนี้ ในเวลาที่เหลือ ให้ติดต่อคุณนฤชล ทองผาสุข ได้ที่ พัฒนาการอำเภอหนองแซง จ.สระบุรี โทร.036-399-080 โดยส่งเอกสารใบสมัครไปที่ สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน หรือติด นายบุญส่ง เวศยาสิรนทร์ (ในนามผู้ประสานงานโครงการ)

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รายชื่อกลุ่มเป้าหมายเข้าฝึกอบรมหลักสูตร GRID (Finalized)

ด่วนมาก
ผมเอารายชื่อกลุ่มเป้าหมาย ฝึกอบรมหลักสูตรมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ที่ปรับรอบสุดท้าย มาลงไว้พร้อมนี้
ทีมงานพลังร่วม (นักวิชาการฯ ส่วนกลาง) รุ่นที่ 3 ซึ่งจะมี ระหว่างวันที่ 13 - 16 กรกฎาคม 2552 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดนครนายก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก มาแขวนไว้ เพื่อทราบและเตรียมตัว ส่วนหนังสือคู่มือ และนส.ลงนามโดยเจ้านาย ได้ส่งมา 2 วัน ท่านคงได้รับ ทันเวลา แล้วเราพบกัน



1. นายประพันธ์ ทองสีดำ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
2. นางสาวภิญญารัตน์ แกล้วทนงค์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ/กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
3. นางณิชา เปรมจันทร์ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญ/กองแผนงาน
4. นางสาววจิรา เดชารัตน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ/กองแผนงาน
5. นายกิติศักดิ์ แก้วบันดิษฐ์ นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ/กองการเจ้าหน้าที่
6. นางสาวสุขนันทิพย์ ศรีสมวงษ์ นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ/กองการเจ้าหน้าที่
7. นางชยาณี มัจฉาเดช นักวิชาการตรวจสอบภายในชำนาญการ/กองคลัง
8. นางสาวเพลินพิศ สาสาย นักวิชาการพัสดุชำนาญการ/กองคลัง ฝ่ายพัสดุ
9. นางสาวเยาวนิจ กลั่นนุรักษ์ นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ/กองประชาสัมพันธ์
10.นางสาวณานิฎา ศรีสิทธิชัยสกุล นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ/กองประชาสัมพันธ์

11. นางสาวลำเพย พุกเจริญ นักจัดการงานทั่งไปชำนาญการ/ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน
12. นายอรรถพงศ์ สงวน นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ/ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน
13. นายทศพร กัลยาพันธ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ/สำนักงานเลขานุการกรม
14. นายวรงค์ แสงเมือง หัวหน้าฝ่ายช่วยอำนวยการฯ/สำนักงานเลขานุการกรม
15. นางศุภมาส เหล็นเรือง นักวิชาการตรวจสอบภายในชำนาญการ/หน่วยตรวจสอบภายใน
16. นางสาวธนพร คล้ายกัน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักงานส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
17. นางสาวสุพิชา สอนบุญลา นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักงานส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
18. นายบุญส่ง เวศยาสิรินทร์ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ/สถาบันการพัฒนาชุมชน
19. นายพัลลภ ตันจริยภรณ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน
20. นางดวงพร ตลอดพงษ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน

21. นางณัจยา รัตนชัย นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดสระบุรี
22. นางสาวนิตยา เกษตรพิบาล นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดสระบุรี
23. นายพิเชษฏ์ อาจสามารถ นักวิชาการพัฒนาชุมชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง
24. นส.พจนีย์ พรหมจิต นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง
25. นางปทุมมา ศรีนครธรรม นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก
26. นางสายสุนีย์ แก้วเรื่องเนตร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก
27. นางจรัสศรี รัตนบุรี นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช
28. นางสาวนวภัทร หอมหวล นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช
29. นางสาวดาเรศ ชูยก นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา
30. นางสาวสมศรี จิตรเวช นักบริหารทั่วไปชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา

31. นายทวีศักดิ์ ช่วยเกิด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา
32. นายประดิษฐ์ สระเลิศรัมย์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา
33. นางสาวอรวี แสงทอง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดนครนายก
34. นายอภิชาติ บุณยรัตพันธ์ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดนครนายก
35. นางรำพา ชนะพลชัย นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดชลบุรี
36. นางนุจรีย์ ทิวาวัลย์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดชลบุรี
37. นางภัทราวดี หมั่นเรียน นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดอุดรธานี
38. นายเสถียร ทองดี นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดอุดรธานี
39. นางศิรินุช สูงสุด นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี
40. นางประนอม บัวแย้ม นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี

41. นายชัยวัฒน์ บุญยืด นักวิชาการพัฒนาชุมชนรชำนาญก่าร/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี
42. นายประสงค์ สีลา นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ/ศูนย์ศึกษาและพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี
43. นายอัคเดช แจ้งอยู่ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
44. นางมาลี ปลื้มประมูล นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
45. นายกลิ่นสุคนธ์ กนกหิรัญ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี
46. นายปรีชา มีราช นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร
47. นายพิเชฐ บุญยรัตน์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
48. นายกู้เกียรติ ญาติเสมอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สถาบันการพัฒนาชุมชน
49. นายวิทยา ลือชา นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ/สถาบันการพัฒนาชุมชน
50. นางสาวสุปราณี มหาพัฒนไทย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ /สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
---------
Updated : 02/07/52/ boonsongv* 086-728-3761

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทเรียน(Lessons learned)กรณีกิจกรรมบนเว็ปบอร์ดกรมการพัฒนาชุมชน

การจัดการความรู้ ด้วยวิธีค้นหาบทเรียน (Lessons learned) จากกรณี กรมการพัฒนาชุมชนเชิญชวนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน แสดงความคิดเห็น ประเด็น “กรมพัฒนาชุมชน ทำงานอะไร?” ในเว็ปบอร์ด ช่วงเดือนเมย.-พค.52 ของกรมฯ

ความนำ
ข้อเขียนนี้ ทำไว้เพื่อลงเว็ปบอร์ดของกรมการพัฒนาชุมชน ตั้งใจเขียนไว้ เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านการจัดการความรู้ และส่งให้เพื่อนร่วมงานอ่านกันเล่นๆ แต่เพื่อให้เกิดความสะดวกสำหรับผม ในการออกไปติดตามสนับสนุนงานจังหวัดเป็นครั้งคราว จึงตัดสินใจเอามาลงไว้ในเว็ปนี้อีกที ถือเป็นการทำแบบฝึกหัดของผมด้วย ได้ลองผิด-ลองถูก เพื่อความเพลิดเพลิน ซึ่งทำให้ได้ความรู้ ประสบการณ์ ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น หากมีข้อคิดเห็น เสนอแนะ หรือจะใช้ประโยชน์ข้อเขียนนี้ ได้บ้าง ก็ยินดี เชิญครับ..

1.ความเป็นมา

“กรมการพัฒนาชุมชนทำงานอะไร” คือคำถามที่ วจิรา เดชารัตน์ กลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กองแผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน โพสลงเวปบอร์ด เชิญชวนพี่น้องชาวพช.ร่วมกันตอบคำถามนี้ โดย ระบุว่า ถ้าคำตอบดี มีรางวัล และให้เหตุผลว่า คำถามนี้หลายครั้งไม่สามารถหาคำตอบที่ สั้นกะทัดรัด เข้าใจง่าย แต่ชัดเจนตรงกับภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชนได้ จึงให้พี่น้องชาว พช. ร่วมตอบคำถาม โดยโพสต์ข้อความสั้นๆ เข้าใจง่าย ได้สาระ แจ้งชื่อ-นามสกุล และเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ ทางเว็บบอร์ดนี้ หรือ Fax เบอร์ 0 2143 8917 หรือ ทางระบบ OA ไปที่ชื่อข้างต้น ตั้งแต่ วันนี้ ถึง 31 พฤษภาคม 2552

คนอ่านเว็ปกรมฯ แล้ว เห็นว่าเป็นกิจกรรม ที่อาจทำให้ คนพช.สนใจเข้ามีส่วนร่วม และกระตุ้นให้สนใจการใช้ระบบไอที และนำไปสู่การทำงานพัฒนาชุมชน ต่อไปได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งการนำ KM.มาใช้ในการทำงานพัฒนาชุมชนดูเหมือนคนกรมพช.จำนวนมาก ยังมีทักษะจำกัด โดยน่าจะมีเงื่อนไขปัจจัยหลายอย่างผสมผสานกัน นำไปสู่การไม่อาจใช้องค์ความรู้ที่มี หรือช่องทางการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรได้มากเท่าที่ควร จึงขอนำเสนอการถอดองค์ความรู้ในเรื่องนี้ (เป็นการทดลอง) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ตลอดจนการมีส่วนร่วมโพสข้อความ เข้ามาอีก
2. ปรากฏการณ์/สถานการณ์

จากการสำรวจเว็ปกรมฯแบบคร่าวๆ และเว็ปบอร์ดกระทู้ครั้งนี้ ณ บ่าย วันที่ 9 พค. 52 พบว่า มีคนโพส ลงในเว็ปบอร์ด ประมาณ 150 ราย พบว่า เป็นจำนวนการโพส ที่มียอดผู้เข้ามีส่วนร่วมสูงสุด กล่าวคือ กระทู้อื่นๆ มีผู้โพสเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น เกือบทั้งหมด อยู่ที่ต่ำกว่า 10 รายแทบทั้งสิ้น (เว็ปบอร์ดตั้งแต่เดือน มค.52 เป็นต้นมา) และพบว่า เนื้อหาส่วนใหญ่ของการโพสเป็นเรื่องสัพเพเหระ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การสอบถาม บ่น ระบายปัญหา อันเกิดจากวิธีปฏิบัติในพื้นที่ เรื่องระบบบริการ โอท็อป โปรแกรมคอมฯ การเบิกจ่าย โปรแกรม สิทธิบางอย่าง ข้อมูลการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย ประชาสัมพันธ์งาน แจ้งข่าว/หรือแสดงความยินดีต่อผู้บังคับบัญชา มีการโพสข้อความโฆษณาสินค้าบริการของเอกชน บ้างเล็กน้อย โดยพบว่า ไม่มีการโพสกระทู้ ที่ดูไม่เหมาะสม อ่อนไหว หรือส่อให้เกิดปัญหาต่อกรมฯ หรือบุคคลใดๆ
ส่วนเว็ปไซต์ใหญ่ มีความโดดเด่น ที่ภาพการทำกิจกรรม ของผู้บริหารกรมฯ หลายคน แสดงให้เห็นการทำกิจกรรม เช่น เป็นประธานในพิธี ปิด – เปิด ร่วมงานสำคัญ ไปเป็นเกิยรติ มอบนโยบาย ร่วมกระทำพิธีสำคัญบางอย่าง ทั้งหมดมีรายงาน/ ภาพประกอบ กล่าวได้ว่ามีลักษณะ ที่เป็นแบบแผนเดียวกันเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ เป็นหนังสือ ข้อมูลข่าวสารที่ว่าด้วยการปฏิบัติตามระเบียบ แบบแผนของทางราชการ เพื่อทราบหรือปฏิบัติ และมีมุมวิชาการส่วนหนึ่ง

พิจารณา ด้านเนื้อหาการตอบกระทู้ของผู้เข้ามีส่วนร่วม ข้างต้น มีประมาณ 150 ราย พอจะสรุป ประเด็นความเหมือนกัน (Common elements) ได้ จาก 145 กระทู้ คือ
· การพัฒนาคน องค์กร ชุมชน
· สร้างการเปลี่ยนแปลง
· จัดการความรู้ สร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น
· ทำให้คนมีความสุข
· สร้างกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม
· การสร้างการมีส่วนร่วม จิตสำนึก
· การพึ่งตนเอง การพัฒนาที่ยั่งยืน
· การสร้างศักยภาพ พลังชุมชน การสร้างความเข้มแข็ง
· การพัฒนาคุณภาพชีวิต
· สร้างทุนทางสังคม
· เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจชุมชน
· การพัฒนาผู้นำ
· การคิดเป็น ทำเป็น
· การส่งเสริมความรัก สามัคคี
· การบูรณาการ ต่อยอด
· การส่งเสริม กระตุ้น ให้คิดเป็นทำเป็น
· การใช้ฐานข้อมูล
· ความสามัคคี ริเริ่ม สร้างสรรค์

. ฯลฯ

ทั้งนี้ มีประเด็นที่แตกต่างออกไป จากที่กล่าวแล้วข้างต้น พบ 5 กระทู้ สรุปได้ ว่า

· ทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมของงานประชาชน ที่ยังมีช่องว่าง หรือของหน่วยงานอื่นให้ถึงประชาชนในชุมชนอย่างสมบูรณ์ ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล
· กรมฯสร้างคน จึงเป็นงานที่ยากและหนัก (เหมือนเข็ญครกขึ้นภูเขา)
· เป็นหน่วยงานช่างคิดฝัน (ในการการวางแผนกับประชาชน) แต่มักเห็นผลการพัฒนาช้า ?
· งานที่เราทำซ้ำซ้อนหน่วยงานอื่น การเรียนรู้ก็ดี การสร้างความเข็มแข็งก็ดี หลายอย่าง หน่วยงานอื่นเขาก็ทำอยู่แล้ว
· เป็นหน่วยงานที่ทำงานพัฒนาคนในทุกเรื่อง แล้วทำให้เขาพอใจ มีความสุข

ข้อค้นพบ หรือข้อสังเกตอื่นๆ เมื่อพิจารณาจากเว็ปไซต์ทั้งหมด เว็ปบอร์ด และการตอบกระทู้ข้อนี้ ในครั้งนี้

· มีผู้บริหารระดับสูง อาทิ รองอธิบดี โพส ร่วมแสดงความคิดเห็น ในระดับต้น
· เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน หลายระดับใน ส่วนกลาง/เขต/จังหวัด/อำเภอมีส่วนร่วมส่วนใหญ่ระบุชื่อเสียงเรียงนาม ที่ทำงานหรือที่ติดต่อได้จริง
· คนทำกิจกรรมนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ระดับกรมฯ และทำงานเกี่ยวข้องการพัฒนาระบบงานของกรมฯ
· มีการให้รายละเอียด วัตถุประสงค์ กิจกรรม ชัดเจน
· มีการเสนอจะให้รางวัล
· สิ่งถามเป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ใกล้ตัว
· คำตอบ ส่วนใหญ่ออกไปในทิศทางเดียวกัน
· คนตอบส่วนใหญ่ มีความตั้งใจแสดงความคิดเห็น ไม่ทำเล่น หรือทำเล่นน้อยมาก
· กระทู้ท้าทาย
· คนอยากเห็นอนาคตของกรมฯ
· ปัจจุบันคน เข้าถึงเว็ปกรมฯได้ง่าย
· บางแห่ง ผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงานสนับสนุนด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อดูองค์ประกอบอื่นๆ (เมื่อดูบริบท รายรอบ เว็ปไซต์กรม และกระทู้นี้ และสถานการณ์ทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ไอที) อาจสังเกตเห็นได้ชัดว่า

· ข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏในเว็ปยังมีแนวโน้มเน้นการนำเสนองาน/หรือภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์งานของผู้บริหารระดับสูงมากกว่า
· เจ้าหน้าที่บางส่วนเห็นว่าเว็ปบอร์ดของกรมฯ ยังไม่น่าสนใจเท่าที่ควร
· ในเวลาเดียวกัน กระทู้ในเว็ปบอร์ดส่วนใหญ่ เป็นเรื่องพื้นๆไม่น่าสนใจหรือไม่ท้าทายเท่าที่ควร
· คนบางส่วน(สอบถามเพิ่มเติมเอง) ไม่อยากโพสลงบอร์ดหรือมีส่วนร่วมเพราะเชื่อว่าไม่เกิดประโยชน์ หรือทำอะไรให้ดีขึ้น
· การโพสข้อความ บางเรื่อง หรือคิดต่าง อาจถูก เพ่งเล็ง ตรวจสอบ
· เว็ปไซต์กรมฯและบอร์ดมักเป็นเรื่องของนักวิชาการและผู้บริหาร ไม่จำเป็นต้องสนใจมาก ควรเปิดดูเฉพาะยามมีเรื่องสำคัญหรือใกล้สอบ โยกย้าย แต่งตั้ง ดีกว่า
· มีเว็ปไซต์ อื่นๆ น่าสนใจกว่า
· งาน ในหน้าที่ เยอะแยะไม่มีเวลาสนใจ

3.บทเรียนที่ (น่าจะ) ได้รับจากกิจกรรมนี้

(1) ผู้บริหารระดับสูง หรือบุคคลสำคัญ ที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความสำคัญ ต่อความสำเร็จของกิจกรรม
(2) การบอกที่มาที่ไป วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของกิจกรรมที่ชัดเจน
(3) เรื่องที่คนสนใจ ท้าทาย อยู่ใกล้ตัว ทำให้อยากมีส่วนร่วม
(4) แรงจูงใจ เช่น รางวัล ช่องทางความสะดวกในการติดต่อ
(5) เป็นกิจกรรมง่ายๆ ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก เมื่อเทียบกับระบบการทำงานอื่นๆของราชการ
(6) คนเข้าถึงระบบไอทีมากขึ้น (แม้ว่าบางที ไม่เปิดดูเว็ป กรมฯ เลย)
(7) สถานการณ์เกี่ยวกับการให้คุณค่าเว็ป กรมฯ ที่ทำให้รู้สึกว่า น่าเบื่อ แต่บังเอิญ มีคนพยายาม ในการหาหรือสร้างความแตกต่างแหวกแนวออกไปจากเดิมๆ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมได้
(8) อ่านกระทู้ คำตอบของแต่คน ทำให้ทราบอารมณ์ความรู้สึกบางเรื่องได้
(9) สนุก ได้มุมมองใหม่ๆ ไม่เครียด
(10) รู้สถานภาพ เพื่อนฝูงที่ไม่เคยติดต่อกันนาน ว่าอยู่ที่ใดและยังมีชีวิตอยู่
(11) สามารถทำเป็นดัชนีชีวัดความสนใจ พช. แต่ละเขตได้ โดยดูจาก ชื่อที่อยู่ระบุไว้
(12) ทำให้ผู้บริหารระดับสูง มีช่องทางใหม่ เข้าร่วมกิจกรรรมได้ อาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
(13) เป็นเครื่องแสดง ให้เห็นว่า คนคิดทำเรื่องทำนองนี้ฉลาด มีกลยุทธการทำงาน (โดยวิเคราะห์ได้จากวิธีการทำงาน อาจมีการคิดถึงผลกระทบที่เกิดจากวิธีการ และเรียนรู้เงื่อนไข บริบทบางอย่าง หรือคุณค่าของเว็ปกรมฯ มาบ้าง แล้ว)

จากที่กล่าว จะเห็นว่าในกรณีนี้ พอจะสรุปเป็นเป้าหมาย ที่ต้องการบรรลุ ออกเป็นด้านๆ ได้ อาทิ

ด้านการมีส่วนร่วม

1. ถ้าหาก...ผู้บริหารระดับเล่นด้วย.....จะทำให้ คนอื่นๆสนใจ เข้ามีส่วนร่วม(โพสข้อความ) มากขึ้น
2. ถ้าหาก..ทำกิจกรรมนี้ให้แตกต่างจากกิจกรรมการโพสที่มีหรือครั้งก่อนๆ (ดูรายละเอียดเอาเอง).....จะทำให้คนสนใจ เข้ามีส่วนร่วม (โพสข้อความ) มากขึ้น
ด้านการบริหารจัดการที่ดี

1. ถ้าหาก..ผู้บริหารตระหนัก สนใจ และเข้ามีส่วนร่วม (โพสข้อความ) ในกิจกรรม (ที่เด็กๆทำ) จะทำให้ จนท.พช.อื่นๆ สนใจมีส่วนร่วมมากขึ้น ด้วย
2. ถ้าหาก...ออกแบบกิจกรรม ให้เรียบง่าย ไม่ซับซ้อนดูท้าทายผู้ตอบมีความสะดวก หรือเข้าถึงช่องทางสื่อสาร ตลอดจนมีความชัดเจนในวัตถุ/ประสงค์เป้าหมายกิจกรรม และมีคนรับผิดชอบน่าเชื่อถือ ติดต่อได้ชัดเจน .....จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วม มากขึ้น
ด้านการการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

1. ถ้าหาก..ให้เจ้าหน้าที่พช. คิด หรือ ทำงาน อย่างริเริ่ม สร้างสรรค์ (มีอิสระด้านความคิด มีการลดระบบระเบียบขั้นตอนบางประการ ให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัวในการทำงานฯลฯ....จะทำให้ จนท.พช. สามารถพัฒนาตัวเองได้ง่ายขึ้น หรือมากขึ้น และนำไปสู่การมีส่วนร่วม ได้มากขึ้น
2. ถ้าหาก..ผู้บริหารระดับสูง หรือผู้บังคับบัญชาหน่วยงาน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน เรียนรู้กิจกรรมในลักษณะเช่นนี้ มากขึ้น...จะทำให้ สามารถออกแบบกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วม ได้มากขึ้น
ด้านสาระสำคัญของความคิดเห็น ที่อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้

1.
ถ้าหาก.. กรมฯมีการนำสิ่งที่ได้ครั้งนี้ไปศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยพยายามให้จนท.ทุกระดับมีส่วนร่วม ถือเอาเป็น Best practice ... จะทำให้ มีกิจกรรมที่ดีๆ มีคุณค่า และทำให้คนสนใจ เข้ามีส่วนร่วมมากขึ้น

4. ข้อเสนอแนะ

ควรเน้นด้านการมีส่วนร่วม ให้เกิดขึ้นทุกระดับ และกว้างขวาง ผู้บริหารควรเข้ามีส่วนร่วมให้มากที่สุด ควรปรับพฤติกรรมการเอื้ออำนวยความสะดวก การสร้างแรงจูงใจ สร้างกลไกการทำงานให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ในหลายกรณีควรลงเล่น ด้วยตัวเองบ้าง ควรส่งเสริมการทำงาน ที่มีลักษณะริเริ่มสร้างสรรค์ของบุคลากร และควรมีการติดตาม ประเมินผลอย่างใกล้ชิด

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ADB-NGO AIDS Competence กับ KM. ของคนทำงานพัฒนาชุมชน (ภาครัฐ)คนหนึ่ง


อีกงานหนึ่งที่มีในเดือน เมษายน 2552 ในเวลาไล่เลี่ย กับงาน 2008 Asia Pacific Regional Health Impact Assessment Conference ซึ่งได้เขียนเล่าให้ฟังแล้ว คืองานประชุมที่เรียกว่า “เวทีสรุปบทเรียนโครงการ ADB-NGO Competence -ประเทศไทยและการทำงานด้านเอดส์” เมื่อ 29 เมษายน 2552 ที่โรงแรมธาริน จังหวัดเชียงใหม่

จริงๆแล้ว กิจกรรมนี้เขาจัด 27-29 เมษายน 2552 (รวม 3 วัน) กลุ่มเป้าหมาย ที่เข้าประชุมล้วนแล้วแต่ทำงานเกี่ยวข้องด้านเอดส์ ทั้งสิ้น นับตั้งแต่ผู้ติดเชื้อ,เอ็นจีโอที่ทำงานเกี่ยวกับเอดส์,ชุมชนเครือข่าย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องบางส่วน นอกจากนี้มีตัวแทนจากยูเอ็น ตัวแทนองค์กรด้านศาสนา รวมทั้งหมดประมาณ 30 คน จากจังหวัดพื้นที่เข้าเกี่ยวข้องกับโครงการ ทั่วประเทศ

ผมมิได้เข้าร่วมประชุมใน 2 วันแรก เพราะผู้จัดต้องการให้เป็นการทบทวนความก้าวหน้าการดำเนินงาน และการขยายผลการทำงานที่ผ่านมา กับกลุ่มกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ คือทีมที่เรียกว่า NFT(หรือน่าจะเป็น National Facilitation Team?)และองค์กรกลุ่มเครือข่าย ที่ได้มีการเรียนรู้ ฝึกอบรมด้านหลักการเทคนิควิธีการทำงานเอดส์ไปขับเคลื่อนในชุมชนของตัวเองมาแล้ว

(นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่วิทยากร พยายามอธิบาย ขั้นตอนวิธีการทำงาน โดยใช้แนวคิด ที่เรียกว่า HCR ไปใช้ในการทำงานเอดส์ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน)

วันสุดท้าย เขาจึงแยกกิจกรรมไว้ต่างหาก ให้ผู้เข้าประชุมที่ได้รับเชิญเข้าใหม่ ลงทะเบียนแจกเอกสาร พร้อมจัดบรรยากาศเรียนรู้ แบบสบายๆ ผ่อนคลาย และเปิดโอกาสให้แสดงข้อคิดเห็นเพิ่มเติมผลการประชุม 2 วันที่ผ่านมา โดยจัดขั้นตอนการนำเสนอ คือ ;

· นำเสนอให้เห็น กระบวนการทำงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเอดส์ หรือเรียกง่ายๆว่า ACP
· มีการแนะนำให้รู้จักโครงการที่เรียกว่า ADB-NGO Competence ประเทศไทย
· แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการทำงานขององค์กรที่ร่วมในโครงการ และเครือข่ายขยายผล โดยให้จัดให้เยี่ยมชมนิทรรศการ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันคนทำงานในองค์กรต่างๆ
· การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ทำงานด้านเอดส์ กับเครือข่ายต่างๆในกลุ่มย่อย
โดยวิธี ที่เรียกว่า “กระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer assist) ใช้วิธีจัดการความรู้หาองค์ความรู้ (Knowledge Assets)

พร้อมให้ช่วยกันคิด นำเสนอ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์และแผนงานที่จะทำในปีต่อไป จบด้วยกิจกรรมประเมินผลการอยู่ทำงานร่วมกันตลอด 3 วัน โดยใช้เทคนิคประเมินผล แบบ AAR.

การจัดประชุมสรุปบทเรียน รอบนี้ ผมทราบจากผู้จัด ว่าจะเป็นกิจกรรมสุดท้าย (ของเฟสของความร่วมมือกับแหล่งทุน?) เพราะหลังจากนี้ ก็จะไม่มีแล้ว หรือ ถ้ามีก็จะว่าหรือเน้นหนักกันไปในเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับงานเอดส์) สำหรับเฟสของประเทศไทยครั้งนี้ ก็จะเป็นกิจกรรม ที่เรียกกันว่า Thailand National Review (ทบทวน สรุปบทเรียนภาคประเทศไทย-ทำนองนี้)

ดังนั้น ถ้าติดตามกิจกรรม ครบ 3 วัน ก็จะทราบว่า แต่ละกลุ่ม องค์กร เอ็นจีโอ เครือข่าย หรือผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ที่ทำงานกันหลากหลายนั้น มีวิธีคิด วิธีทำงาน และให้การสนับสนุนงานด้านเอดส์อย่างไร

คนที่เกี่ยวข้องระดับปฏิบัติกับชุมชน ก็จะได้เรียนรู้ ทบทวน เรื่องเทคนิควิธีการ และเครื่องมือในการทำงาน ที่เคยฝึกฝนเรียนรู้มาก่อนหน้านี้ การประเมินตนเองเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการกับปัญหานับตั้งแต่ การใช้แผนภูมิแม่น้ำ แผนภูมิบันได เครื่องมือวัดความก้าวหน้าด้านความสามารถในการจัดการปัญหาเอดส์ กระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน (peer-assist)กระบวนการจัดทำองค์ความรู้ (Building Knowledge Assets) บทบาทของทีมจัดกระบวนการเรียนรู้ (Facilitation Team) และเทคนิคการทำงานกับชุมชน ที่เรียกโดยย่อ ว่า SALT การวิเคราะห์บทบาทหญิงชายในการป้องกันและดูแล (Gender Continuum Exercise) การจัดทำแผนภูมิเวลา (Timeline) เพื่อทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านไป การทำแผนที่ (mapping) แสดงการนำกระบวนการไปใช้ และขยายผล
ถึงวันนี้กล่าวได้ว่าโครงการ ADB-NGO Competence-ประเทศไทย เขาส่งเสริมกิจกรรมมาฯ อย่างต่อเนื่อง ครบ 2 ปีแล้วตามพันธสัญญา ที่มีต่อกันแก่ อพช.องค์กรประชาชน องค์กรประชาสังคม รวมถึงเครือข่ายผู้ติดเชื้อ ของชุมชนต่างๆ โดยการสนับสนุนงบประมาณ จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่ง มีองค์กรหลักขับเคลื่อนหลัก ที่เรียกองค์กรว่า The Constallation for AIDS Competence

องค์กรนี้ได้จดทะเบียน เป็นองค์กรไม่แสวงกำไร ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความความรู้ความตั้งใจ ในการทำงานช่วยเหลืองานเอดส์ โดยเชื่อมโยงการทำงานด้านเอดส์ในระดับชุมชนทั่วโลก และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันด้านเอดส์ องค์กรConstellationได้จดทะเบียนที่เบลเยี่ยม มีสำนักงานฝ่ายเลขานุการอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง องค์กรนี้ จึงเป็นองค์กรลูกผสม ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญจาก หลากหลายประเทศ รวมตัวกัน เป็น คณะกรรมการและทำงานร่วมกันตามอุดมการณ์

หากพิจารณาเชิงบริหารจัดการ องค์กรแม่อย่าง Constellation for AID Competence ต้องรับผิดชอบงานหนักหน่อย เพราะ ต้องทำหน้าที่เป็นองค์กรแกนหลัก และประสานงานกับชุมชนต่างๆ ในประเทศภาคี อีกนับ 10 ประเทศ ขณะเดียวกันองค์กรย่อย หรือหน่วยในระดับประเทศ อย่างเช่น โครงการเอดส์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ซึ่งทำหน้าที่ฝ่ายเลขาฯขององค์กร) ก็ต้องทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนงานเอดส์ ในระดับประเทศ ส่วนประเทศภาคีอื่นๆ ก็จะขับเคลื่อนงานในประเทศของตนไปตามรูปแบบ อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ในการทำงานในแต่ประเทศภาคี ก็มีการกำหนดให้มีโค้ช (coach) ทำหน้าที่คอยประสานงานในระดับประเทศนั้นๆด้วย

ถ้าดูกระบวนการทำงานขององค์กร Constellation ซึ่ง มีเครือข่ายย่อยทำงาน อยู่หลายมุมโลก จึงจำเป็นต้องมีระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ยุคนี้จึงหนีไม่พ้น ต้องเอาระบบไอทีเข้ามาช่วยในการจัดการความรู้ เพื่อให้คนในองค์กรต่างๆ ผู้สนใจในทุกระดับทุกประเทศ สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร รู้ความเคลื่อนไหว ของกันและกัน เพียงเข้าไปดูเว็ปไซต์ ที่ถูกออกแบบ ขึ้นอย่างดีเพื่อการนี้

นอกจากกิจกรรมเคลื่อนไหวในประเทศของตัวเอง ตามวาระที่กำหนดไว้เป็นแผนขับเคลื่อนงานเอดส์ร่วมกันในห้วง 2 ปีแรก ภายใต้การสนับสนุนจากแหล่งทุน แล้ว ยังมีกิจกรรม ประชุมสัมมนาระหว่างประเทศหรือนานาชาติ ตามวาระเพื่อให้เครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องด้านเอดส์ ขยายการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายร่วมมือมากขึ้นด้วย ซึ่ง ก็นับเป็นการวิธีการสร้างกระบวนการขับเคลื่อน ภารกิจ ที่สำคัญขององค์กรนี้

การสัมมนานานาชาติ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ หัวข้อ(Agenda) International Knowledge Fair เมื่อวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2552 ก็เป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่ทำให้คนทำงานด้านเอดส์ ผู้สนใจ แหล่งทุน และสังคมภายนอก มีโอกาส เดินทาง มาพบเรียนรู้ประสบการณ์ และขยายพรมแดนการทำงานกันได้มากขึ้น จากการมาตลาดความรู้นานาชาติ นี่เอง

ก่อนอำลากันในวันสุดท้าย เขามีการหารือกันว่าครั้งต่อไปจะจัดประชุมนานาชาติที่ใดดี จึงตกลงกันว่าจะเป็นการประชุมระดับนานาชาติ ครั้งที่ 9 ที่เรียกว่า The 9th International Congress on AIDS in Asia and the Pacific หรือเรียกโดยย่อว่า ICAAP 9 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย กำหนดวันที่ 9–13 สิงหาคม 2552 ซึ่งก็เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือและขยายผลการทำงานเอดส์ ให้เข้มข้นขึ้นร่วมกัน มีการกำหนดหัวข้อเน้น (Theme) ว่า “ร่วมติดอาวุธด้านความคิดแก่สังคม–สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือให้แข็งขัน หรือ Empowering People - Strengthening Networks (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.icaap9.org/ )

โดยที่องค์กร Constellation for AIDS Competence เชื่อว่า องค์กรกำลังทำภารกิจสำคัญกับสังคมทั่วโลก ดังนั้น จึงพยายามกำหนดหลักการทำงานด้านเอดส์ บนฐานความเชื่อที่ว่า :
“ สังคมเอาชนะ เอชไอวี/เอดส์ ได้ โดยประชาชนเอง เพราะประชาชนมีพลังในจัดการ, สามารถเรียนรู้กันและกันได้ ซึ่งศักยภาพเหล่านั้น พร้อมที่จะถูกนำมาใช้ และเสริมสร้างเป็นความแข็งแกร่ง”

ดังนั้น การจัดการศึกษา หรือเสริมพลังการทำงานใดๆ แก่กลไกใดๆของการขับเคลื่อน ที่จะนำไปสู่การตอบสนอง สถานการณ์เอชไอวี/เอดส์ จึงต้องทำอย่างมีความรู้ ความเข้าใจที่ดีพอ เข้าใจถึงธรรมชาติ ความละเอียดอ่อนในประเด็นต่างๆ ที่มี การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเล็งเห็นถึงศักยภาพ การเข้าใจเรื่องการใช้เทคนิค วิธีการทำงาน และ เข้าใจใน มิติต่างๆของการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ฯลฯ

ที่ผ่านมา ผมมีโอกาส เข้าร่วมประชุมสัมมนาในระบบไทยและเทศหลายครั้งในเรื่องนี้ ก็ด้วยความกรุณา จากผู้เกี่ยวข้องหลายท่าน รวมถึงการศึกษาหาความรู้ เท่าที่จะกระทำได้ และมีความสุขกับมัน

สุดท้ายผมใคร่ขออนุญาตเอ่ยนาม กล่าวขอบคุณสำหรับ ดร.อุษา ดวงสา แห่งโครงการ AIDS Education Programme ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้ให้เกียรติผม ในการพิจารณาอนุญาตให้เข้าแลกเปลี่ยน เรียนรู้ด้านเอดส์ในหลายเวที, คุณสมพงษ์ เจริญสุข แห่ง UNAIDS ที่ได้กรุณาช่วยเหลือด้านข้อมูลดีๆและยังส่งตำราภาษาอังกฤษจากยูเอ็นมาให้ศึกษาเสมอ จนอ่านไม่ทัน, คุณเพ็ญแข และคณะ แห่ง สสจ.ที่ลำปางกับโครงการ ที่จังหวัดลำปาง ชื่อ UN Joint Programme on Enhanced GFATM Grant implementation in Thailand through local partners capacity building and improved multi-sectoral local response programming for AIDS เพื่อนเอ็นจีโอ และเพื่อน จากกลุ่มเครือข่ายผู้ติดเชื้ออีกหลายคน (ซึ่งจำชื่อไม่ได้หมด) ซึ่งทั้งหมด ดูเหมือนจะเป็นจุดลงตัว ที่ผสมผสานทำให้ผมได้เกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเช่นกัน มีเครือข่ายงานพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น มีแรงบันดาลใจใหม่ๆ อย่างไม่รู้สึกท้อแท้ เหน็ดเหนื่อยเลย

แล้วเราช่วยกันทำงาน เพื่อสังคมที่ดีกว่า และเพื่อผลแห่งความสุข จากสังคมที่ดี ร่วมกัน นะครับ...
เดือน พค.52
(รูปภาพมีเยอะครับ แต่เกิดปัญหาทางเทคนิค-เอาขึ้นไม่ได้)

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การประชุมนานาชาติเรื่อง 2008 Asia and Pacific Regional Health Impact Assessment Conference : ผมได้เห็นอะไร คิดอย่างไร?

กิจกรรมนี้ มีระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2552 ที่โรงแรมดิอิมเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ผมเป็นคนหนึ่ง ที่เข้าร่วม มีผู้เข้าประชุมประมาณ 300 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้สนใจ หรือทำงาน ที่เกี่ยวข้อง จากกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และประเทศ อื่นๆ 20 ประเทศ ผมเองเข้าไปเกี่ยวข้องงานนี้ ในฐานะเป็นอาสาสมัคร ของสถาบันหริภุญชัย จังหวัดลำพูน เขากำหนดให้เรา เป็นหน่วยงานเตรียมข้อมูลนิคมอุตสาหกรรมลำพูน เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้เป็นกรณีศึกษาดูงาน ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งในห้าสำหรับกลุ่มเป้าหมายลงศึกษา ผมกับเจ้าหน้าที่ของสถาบันฯ อีกคน รวม 2 คน จึงได้รับการเสนอชื่อเข้าร่วมประชุมด้วย

ว่าไปแล้ว นับว่าเป็นประโยชน์แก่พวกเรา เพราะ ที่หริภุญชัย มีการศึกษาเรื่องการพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อมกัน ค่อนข้างมาก พวกเราเป็นนักปฏิบัติ มีงานศึกษาวิจัย และโครงการ ในท้องถิ่นมากมาย ที่พวกเรา สามารถเอาความรู้เหล่านี้ ไปปรับใช้ หรือแลกเปลี่ยนได้ จึงมีประสบการณ์ ที่จะคุยได้มากพอควร แต่ลำพังต้องเสียค่าลงทะเบียนเอง คนละประมาณ 17,000 บาท เราคงไม่มีปัญญาเข้าประชุม แต่เรื่องอย่างนี้ พวกเรามักโชคดีเสมอ เพราะสุดท้ายแล้ว ชอบที่จะมีคนเกิดเห็นประโยชน์พวกเราเสมอ

ถ้าถามว่าได้อะไร จากการไปหนนี้ในฐานะนักพัฒนา ก็คงจะตอบได้ว่า ผมเข้าไปเกี่ยวข้องการประชุมเตรียมการมา อย่างน้อย 3 ครั้ง ตั้งแต่ปีที่แล้ว ก่อนประชุมใหญ่ ทำให้ ผมได้เห็นการเตรียมการ การบริหารจัดการ ของคนที่เกี่ยวข้อง ที่กระจัดกระจาย หรือเป็นเครือข่ายในหน่วยงาน ภาคส่วนต่างๆ เยอะแยะไปหมด จนเวียนหัว การบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่ ระดับสากลภูมิภาคของโลก ต้องใช้ ศักยภาพในคิดวางแผน การปฏิบัติการ การติดตามประเมินผล การบูรณาการ และการสื่อสารอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย อ้อ คนที่เข้าประชุมที่เชียงใหม่นั้น หมายถึง ว่าพวกเขาจะต้อง ไปเข้าหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง HIA เพื่อมาเตรียมมาสัมมนาที่เชียงใหม่ 3 วัน ด้วย ในกรุงเทพ เป็นการฝึกอบรมที่ต้องเล่าเรียนเชิงลึกกันเลยล่ะ

ผมจะขอเขียนเล่าโดยสรุป เพื่อให้เห็นคร่าวๆเฉพาะการจัดกิจกรรมที่เรียกว่า “การประชุมแบบสัมมนา หรือ “Conference” และฉายภาพให้เห็นภาพว่า ถ้าจะเอาองค์ความรู้เรื่องการประเมินผลกระทบด้านสุขภาวะ หรือสุขภาพ นั้น เขาทำอย่างไรบ้าง เท่านั้น ผ่านมุมมองส่วนตัวของผม เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็พอจะแบ่งการเล่าเป็นเรื่องใหญ่ๆ ได้ 2 ประเด็น ตามลำดับ คือ

(1) ว่าด้วยเรื่ององค์กรที่ร่วมกันรับผิดชอบ พบว่า งานช้างขนาดนี้ ต้องอาศัยการเตรียมการ เพื่อให้เกิดความพร้อม และสมบูรณ์ที่สุดกันนาน เป็นปีๆและเกิดจากหน่วย องค์การหลายหน่วย ร่วมกันรับผิดชอบ กล่าวคือ หน่วยงานเจ้าภาพหลัก (Host) ในประเทศไทย ก็คือ หน่วยงาน ที่เรียกว่า National Health Commission, Thailand ส่วนหน่วยงานที่เป็นผู้ร่วมจัด เขาใช้คำว่า Co-Hosts ก็มีถึง 10 หน่วยงาน อาทิ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข, มูลนิธินโยบายสุขภาวะ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มูลนิธิส่งเสริมสุขภาวะไทย (Thai Health Promotion Foundation, Thailand),องค์การอนามัยโลก(ประเทศไทย), สำนักงานนโยบายและการวางแผนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม,สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และกรมควบคุมโรค เป็นต้น

หน่วยงานที่ว่าเหล่านี้ คงต้องมีการประชุมหารือกัน อย่างต่อเนื่องและแบ่งงานให้ชัดเจน ว่าหน่วยงานใดรับผิดชอบในเรื่องใดบ้าง โดยพิจารณา ถึงรายละเอียด กรอบ เนื้อหา ขั้นตอนต่างๆของการดำเนินงานประชุมนานาชาติที่ควรจะเป็น เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่กำหนดไว้

ในประเด็นนี้ ทำให้เห็นการทำงานที่เป็นเครือข่าย ได้อย่างชัดเจน ถ้าลากเส้นเครือข่ายเชื่อมต่อกัน จะเห็นว่า มีองค์การที่อยู่ต่างประเทศอีกซีกโลกหนึ่ง ลากมายังประเทศไทยที่องค์การ Host จากนั้น ก็ลากเส้นโยงใย เชื่อมต่อหน่วยงาน มีเส้นโยงใดไปหมด จนกระทั่ง ถึงหน่วยงานหริภุญชัย ซึ่งเป็นแค่องค์กรด้านการพัฒนาในท้องถิ่นจังหวัดลำพูน นี่ยังไม่นับเครือข่ายที่เกิดจาก ผู้เข้าประชุมที่ลงทะเบียน เข้าร่วมประชุม จาก/หรือหน่วยงานจากประเทศต่างๆ อีก 20 ประเทศ ทำให้โลกที่กว้างใหญ่ไพศาลแคบลงถนัด และมีโอกาสที่จะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือความรู้กันได้อย่างจะๆ ผ่านภาษาอังกฤษ ที่ทุกคนจำเป็นต้องมีทักษะด้านนี้อยู่เป็นอย่างน้อย

แต่แม้กระนั้น เมื่อเข้าประชุม ก็ยังสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมหลายๆแบบ เช่น การแสดงด้านวัฒนธรรมก่อนเปิดประชุม นิทรรศการ การเลี้ยงรับรอง ที่มีการแสดงวัฒนธรรมประจำชาติ เอกสาร สิ่งพิมพ์ของที่ระลึก ซึ่งเขาเตรียมไว้แจกอย่างไม่อั้น ใครไม่ถนัดฟังภาษาอังกฤษ ก็มีเครื่องหูฟัง สำหรับฟังคำแปล ในบางรายการ มีเอกสารการสรุปให้ทราบ มีการจัดไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ เปิดโอกาสให้คนพิการเข้าร่วม

(2) ว่าด้วยกระบวนการเนื้อหา/เทคนิควิธีการนำเสนอในการประชุมสัมมนา (Conference) แน่นอนว่าจะต้องเป็นการนำเสนอเพื่อให้สังคมเห็นความสำคัญเรื่องสุขภาพของคนเราของสังคม ของสิ่งแวดล้อม หรือเรียกรวมๆว่าสุขภาวะเป็นสำคัญ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาวะ หรือ Health Impact Assessment จะเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหา อันเกิดผลกระทบในทางไม่ดีดังกล่าวได้ และ ก็จบลงทีว่า ถ้าเช่นนั้น สังคมก็ควรจะช่วยกัน ติดอาวุธทางปัญหาให้กับประชาชนหรือสังคม เพื่อ ให้เกิดวามมั่นใจว่าจะส่งผลดีต่อการพัฒนาด้านสุขภาพของคนของสังคมด้วยสิ หรือที่เขาได้ชูให้เห็นเป็น หัวข้อเด่น (Theme) หรือ highlight ของการจัดประชุมนานาชาติหนนี้ เป็นภาษาฝรั่งว่า “Empowering People Ensuring Health”

การจัดประชุมนานาชาติ โดยรูปแบบประชุมที่เรียกว่า Conference เมื่อทำกับคนกลุ่มใหญ่ หลากหลายเชื้อชาติวัฒนธรรม และกับคนที่หลากหลาย ความรู้ ประสบการณ์ แต่สนใจในเรื่องเดียวกัน จะให้เกิดการเรียนรู้ ก็ต้องใช้เทคนิคเครื่องมือ การสร้างบรรยากาศให้ต่อการเรียนรู้มากมาย นับตั้งแต่การกำหนด ออกแบบสถานที่ ซึ่งเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ มีห้องประชุมขนาดต่างๆ สำหรับกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันที่ทันสมัย อาทิ จอมอนิเตอร์ เครื่องมือบอกข่าวสาร ข้อมูล รายงานโปรแกรมที่จะดำเนินการหรือกำลังดำเนินการในห้องต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าประชุม ได้เลือกเข้าศึกษาตามวาระ หรือตามความสนใจ มีมอนิเตอร์แจ้งรายการไม่ต่างกับอยู่ในสนามบิน ยังคำนึงถึงการจัดบริการอาหารเครื่องดื่ม ที่ทำให้รู้สึกสะดวกสบาย เกิดสิ่งที่ทำให้เรียนรู้ได้มากที่สุด มุมนิทรรศการ มุมเอกสาร หนังสือสิ่งพิมพ์เผยแพร่แจกฟรี ภาพถ่ายโปสเตอร์สวยๆ แถมมีถุงผ้าสวยๆ ให้ใส่เอกสารหนังสือกองพะเนินกลับบ้าน มุมลงทะเบียน/รับเอกสารคำแนะนำ ป้ายชื่อกระเป๋าสำหรับผู้ลงทะเบียนแถบลายปักชาวเขาดูสดสวย ห้องปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่ ล็อบบี้พักผ่อน บอร์ดแสดงความคิดเห็นห้องรับรองผู้สื่อข่าว คลินิกตอบปัญหา มุมตลาดความรู้/ให้ความช่วยเหลือ คำปรึกษาต่างๆ ฯลฯ เรียกว่าเป็นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้เรื่อง HIA การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ สร้างความสัมพันธ์ หรือเครือข่ายกัน อย่างแท้จริง

ครั้นได้เวลา ก็เปิดต้อนรับ ด้วยการแสดงทางวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ ชื่อชุดอะไรไม่ทราบ ถือเป็นพิธีเปิดและต้อนรับอย่างเป็นทางการ Open Ceremony จบการแสดงปล่อยเวทีห้องประชุม ให้ดูเงียบๆ สักพักแล้วตามด้วย VCD เสนอเรื่อง HIA: Empowering People, Ensuring Health ตามด้วย การนำเสนอ เรื่องราวของ ตัวแทนเรียกว่ากลุ่มคนไร้สัญชาติ (Stateless people) ซึ่งเป็นตัวแทนผู้พลัดถิ่น หรือคาดว่า น่าจะเป็นชาวเผ่าปะหร่อง ที่อยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ที่อำเภอเชียงดาว เธอแต่งการชุดประจำเผ่าสวยงาม ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ สะท้อนเรื่องราวชีวิต ความรู้สึกเผ่าพันธุ์ของพวกเธอ เป็นภาษาของเธอเอง มีอักษรวิ่ง แปลคำพูดเธอ เป็นภาษาอังกฤษ เนื้อหากล่าวถึง ความไม่เป็นธรรมทางสังคม ที่เผ่าชนของพวกเธอ มักถูกเป็นที่เข้าใจว่าเป็นตัวการตัด ไม้ทำลายป่า เป็นต้นเหตุให้เกิดไฟป่า น้ำท่วม และนำเสนอข้อเรียกร้อง เพื่อความเป็นธรรมด้านสิทธิมนุษยชน มีเสียงดนตรีและสไลด์ประกอบ สะกดให้ผู้เข้าประชุมซึมไปหมด ค่อยๆตามด้วยเสียงปรบมือ คล้ายๆจะเห็นด้วย และเข้าใจในชตากรรมของเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน

การกล่าวต้อนรับโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (Welcome Address) บุคคลสำคัญในฐานะเจ้าเมืองต่อผู้มาเยือน กล่าวถึงโครงการ และความสำคัญของการ ที่จะต้องติดอาวุธด้านความคิด เพื่อจะได้ช่วยกันแก้ปัญหาสุขภาวะ ถือเป็นสุนทรพจน์สั้นๆ เนื้อๆ (Key Note Speech) สร้างบรรยากาศ และสื่อบอกว่าพร้อมยินดี ที่จะต้อนรับ เพราะ เชียงใหม่เป็นเมืองสวยงาม เต็มไปด้วยของดีๆ

ที่สำคัญ ขาดเสียมิได้ของการประชุมแบบนี้ คือ กิจกรรมที่เรียกว่า Plenary Session หรือเรียก เป็นไทยว่า การประชุมรวม หรือการประชุมใหญ่ เพื่อชี้แจง หรือให้ข้อมูลเรื่องใหญ่สำคัญกับผู้เข้าประชุมทุกคนก่อนแยกย้าย กันออกไปเรียนรู้

ตอนบ่าย เป็นกิจกรรมประชุม อีกแบบ ที่เรียกว่า Concurrent Sessions เป็นกิจกรรมเรียนรู้ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน และจัดขึ้นในเวลาพร้อมๆ กัน ผู้เข้าประชุมสามารถเลือกเข้าร่วมฟัง เรียนรู้ได้ ตามหัวข้อที่สนใจ ซึ่งจะแบ่งห้องประชุม ออกไป 4 ห้อง ราวกับเข้าไปดูหนัง ในห้าง มีหัวข้อนำเสนอ 4 หัวข้อใหญ่ ประกอบด้วย

(1) HIA and Integrated Impact Assessment (การประเมินผลกระทบด้านสุขภาวะแบบบูรณาการ)
(2) HIA and Local Government (การประเมินผลกระทบสุขภาวะกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
(3) HIA and Capacity Building (การประเมินผลกระทบสุขภาวะกับการเสริมสร้างความเข้มแข็ง) และ
(4) Beyond the Limits of Imagination (เหนือสิ่งวาดฝัน เพื่อสังคมที่ดีกว่า)

อันหลัง ผมแปลอย่างนี้แหละ แต่ห้องนี้เขาจัดไว้สำหรับการเรียนรู้ของผู้พิการ หรือคนที่ทำงานเกี่ยวข้อง โดยมองว่า ผู้พิการมักถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากสังคมกระแสหลักอย่างเท่าเทียม ดังนั้น การเปิดโอกาสให้คนพิการได้มีสิทธิ มีเสียง มีกฎหมาย และนโยบาย ที่ดี มากขึ้นเท่าใด จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้พิการได้รับการพัฒนา ให้ดีขึ้นด้วย สุขภาวะเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สังคมไม่ควรมองข้าม

แต่ละห้องจะมีผู้ที่ทำหน้าที่เป็น ประธานคณะทำงานนำเสนอ ผู้ช่วย หรือผู้ประสานงาน และที่ขาดเสียไม่ได้คือ คนที่เก็บรายละเอียด หรือเชื่อมร้อยกิจกรรม (เนื่องจากเป็นการสื่อสารกันด้วยภาษาต่างประเทศ ) ตำแหน่งส่วนนี้ เรียกภาษาอังกฤษว่า Rapportear ทั้งหมดจะใช้เวลา 2 ชม. ใครชอบไม่ชอบส่วนไหน ก็สามารถลุกนั่ง เข้าไปฟังการนำเสนอผลการศึกษาวิจัย ประมาณ5-6 เรื่อง หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ที่สนใจ หรือเกี่ยวข้องกับผู้เข้าประชุม ชาติต่างๆ ในแต่ละห้อง เอาเอง ตามอัธยาศัย

กิจกรรมสุดท้าย ของวันแรกที่น่าสนใจมาก อีกอย่างคือ กิจกรรมที่เรียกกว่า HIA Cafe: Networking Activities แปลเป็นไทยน่าจะเรียกว่ากิจกรรม “ สานสายใย สร้างสัมพันธ์ HIA” เขาจัดในห้องประชุมใหญ่ ทำให้ดูมีบรรยากาศดีสักหน่อย มีอาหารว่างเครื่องดื่มบริการ มีมุมนิทรรศการ แนะนำหน่วยงาน ให้บริการด้านความรู้ ผลงานด้านต่างๆ มุมเสวนา คลินิกไขปัญหา มุมอภิปราย แลกเปลี่ยน สิ่งที่คนสนใจ มุมหารือวางแผนงานก่อนประชุมHIA 2010 ครั้งต่อไปที่ประเทศนิวซีแลนด์ มุมร่วมมือจัดทำปฏิญญาHIA เชียงใหม่ ที่จะมีประกาศพร้อมกันในวันสุดท้าย เป็นต้น

บรรยากาศประชุมช่วงนี้ ทำให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลาย ลุกนั่งเดิน พูดคุยกันแบบสบายๆ กับคนที่เข้าประชุมหลายชาติซึ่งหลากหลายภูมิหลัง ถ่ายรูป จับกลุ่มศึกษากันเอง เป็นที่สนุก เพลิดเพลิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ซึ่งอยู่ในเชียงใหม่ หรือแม้ชาวต่างชาติหลายคนก็พาลูกหลาน เป็นเด็กๆ มาร่วมกิจกรรม ถ่ายรูป เที่ยวเล่นในห้องประชุมใหญ่ สร้างสีสัน ให้ดูหลากหลายทางวัฒนธรรม เพิ่มสีสันการเรียนรู้ที่สัมผัสได้

วันที่สองของการประชุม เขาจัดให้ทุกคน รวมถึงกองทัพนักข่าว ไปดูของจริงกันในพื้นที่เลย โดยให้ลงทะเบียนตามความสนใจ ออกเดินทางแต่เช้า อยู่ยันเย็น ซึ่งแบ่งการศึกษา ออกเป็น 5 หัวข้อ คือ

(1) การจัดการทรัพยากรน้ำ : ว่าด้วยการอนุรักษ์ลำน้ำปิง
(2) การพัฒนาภาคเมือง : ว่าด้วยความสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณย่านชุมชนวัดเกต
(3) การพัฒนาอุตสาหกรรม: ว่าด้วยนิคมอุตสาหกรรมลำพูน และการพัฒนาคุณาภาพชีวิต
(4) การพัฒนาการเกษตร : ว่าด้วยการเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรปลอดสารพิษ
(5) การใช้แรงงานนอกภาคการเกษตร : กรณีหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์บ้านถวาย

พอดูของจริงในแต่ละเรื่อง พบผู้นำชุมชน/ชาวบ้านในพื้นที่ รับประทานอาหารเที่ยงภาคสนาม ในร้านที่ติดต่อไว้ก่อนแล้ว ตกบ่าย ณ จุดดูงานแต่ละที่ จะมีตัวแทน ผู้เข้าประชุมประเทศต่างๆนำเสนอผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง อีกกลุ่มละ 5 - 6 เรื่อง พร้อมเปิดโอกาสให้สอบถามหรือแลกเปลี่ยนกับคนในชุมชนที่มาให้การต้อนรับ ก็นับว่ามีบรรยากาศชื่นมื่นดี ด้วยการต้อนรับจากชุมชนที่เตรียมไว้อย่างดี เพราะสลับนำเที่ยว/นำชม นั่งเรือ ชมสวน ชมศิลปวัฒนธรรมกันตามสถานการณ์และบริบท พร้อมทำการสังเกต วิเคราะห์วิจัยปัญหากันไปในตัว

อากาศเดือนเมษายนร้อนมาก เกือบ 40 องศาซี ทำให้คนดูงานนอกสถานที่ ต้องเหงื่อไหลไคลย้อยกันไปตามๆกัน การไปกันจุดละ 50 - 60 คน ยังทำให้มีบรรยากาศเดินทางอึงมี่ โกลาหลเป็นบางครั้ง แม้กระนั้น ก็ครึกครื้น สนุกกันทุกคน เป็นผู้ใหญ่ มีระเบียบวินัยในการเดินทางร่วมกัน ชาวต่างชาติ บางคนทนแดดร้อน ไม่ไหว เห็นหลบขึ้นรถตู้ปรับอากาศกันก่อน ด้วยอากาศเดือนเมษายนวันนั้นร้อนจริง

ผู้เข้าประชุม สามารถรู้ว่าจุดอื่นๆ เขามีการเคลื่อนไหว หรือมีกิจกรรมอะไร เป็นอย่างไร เรียนรู้อะไร ก็สามารถอ่านเอาจากจดหมายข่าว (ภาษาอังกฤษ) ที่เขาทำเป็นรายงาน แจกในวันรุ่งขึ้น ซึ่งบรรยายสรุปให้เห็นภาพ เรื่องราวสาระของแต่ละจุด ที่ไปดูงานทุกจุด รวมทั้งประเด็นการเรียนรู้ ข้อสังเกตต่างๆ ทำให้ทุกคนได้ความรู้ มีภาพในการสื่อสารสวยๆน่าอ่าน ทำให้เห็นภาพรวมทั้งหมดการดูงานทั้งหมด ซึ่งคิดว่าเขาฉลาดทำ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้สะดวกมากขึ้น

ตกเย็น ทุกกลุ่มเดินทางกลับ และเตรียมตัวไปกินเลี้ยงแบบขันโตก ที่ร้านอาหารแบบลานวัฒนธรรมแห่งหนึ่ง เขาเอาภาษาไทยอิสาน คำว่า “โสเหล่” ไปใช้อธิบายลักษณะงานเลี้ยง เลยเรียกทับศัพท์ เป็นภาษาอังกฤษ ว่า International Solei (Dialogue) on “ Inspiration and HIA Commitment”

ชมการแสดงทางวัฒนธรรม รับประทานอาหารขันโตกอร่อยๆ ร่วมกัน มีการพูดถึงพันธะสัญญา ที่จะทำงานร่วมกัน และให้ช่วยกันวาดแสดงความรู้สึก ความฝัน ความตั้งใจ ความหวัง ที่จะทำงาน HIA ให้สำเร็จ แล้วเอาผลผลิตที่ช่วยกันคิดจิตนาการ มาติดไว้ให้ชมกันในห้องประชุมใหญ่ ในวันรุ่งขึ้น สำหรับ คนที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมเหล่านี้ คงต้องเตรียมการ เตรียมกระบวนการไม่เบาทีเดียว

จะเห็นว่า การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และสนุกเพลินเพลิน สำหรับกลุ่มเป้าหมายเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคนคิดออกแบบกิจกรรม ด้วยเหมือนกัน รวมถึงภาษา เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด

วันที่สาม เป็นวันสุดท้ายของการประชุมนานาชาติ ก็คงต้องให้ยิ่งใหญ่พิเศษหน่อยแล้วล่ะ จะจากกันทั้งทีและปี 2010 จึงจะพบกันอีกที่เมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ ต้องทำให้น่าดูหน่อย มิฉะนั้นเสียชื่อประเทศเจ้าภาพแย่สิ

เขาทำดังนี้ครับ ภาคเช้า เขาเริ่มด้วย Keynote Speech “Hand in Hand in Civic Empowerment” การอภิปรายแบบ Panel ช่วงนี้ใช้เวลา 90 นาที โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมจัด หรืออาจรับเชิญ มาจากประเทศแคนาดา 1 คน จากออสเตรเลีย 1 คน และจาก ม.เกษตรศาสตร์ 1 คน โดยใช้ผู้ดำเนินการรายการ (Moderator) จากเวียตนาม 1 คน และคนคอยเชื่อมประสานหรือร่วมปฏิบัติการ ซึ่งเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Rapporteurs ซึ่งเป็นคนไทย และเชี่ยวชาญเรื่องการสร้างจิตสำนึก และสร้างความเข้มแข็งสถาบันอีก 2 คน

นัยของการนำเสนอช่วงนี้ เพื่อที่จะเติมเต็ม ตอกย้ำคุณค่า ความสำคัญของการของการสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันภาคประชาสังคม หรือจะเป็นการให้ข้อสังเกต ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม และให้ความหวังกำลังใจ ในการร่วมมือร่วมแรงใจกันฝ่าฟันปัญหา อุปสรรค ประมาณนั้น เพราะอีกไม่กี่ชั่วโมง เราก็แยกกันกลับประเทศ หรือบ้านใครบ้านมัน

ถัดมาเอาให้เข้มข้นอีกนิดคราวนี้ให้แยกห้องเรียนรู้ ใครสนใจประเด็นใดก็เลือกเอา จัดเป็น Concurrent Sessions อีกครั้ง ดูหัวข้อแล้ว สรุปได้ว่าเป็นการเน้นให้ได้แนวคิด เชิงนโยบาย และเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนา เพราะเห็นได้จาก มีหัวข้อ เช่น การประเมินสุขภาวะ กับนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ระบบและกลไก ของการประเมินสุขภาวะ ทัศนะและมุมมองการพัฒนาระบบประเมินสุขภาวะ และสุดท้ายคือ ความร่วมมือที่กว้างขึ้นสำหรับการพัฒนาระบบการประเมินสุขภาวะ (Transboundary HIA)

ที่สำคัญของการสัมมนาแบบนี้ จะต้องมีการตกลง ร่างหรือเขียนเป็นข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์หน่อย ในภาคบ่าย เป็นการนำเสนอ “ร่างปฏิญญาเชียงใหม่ ว่าด้วย HIA” โฆษกหญิงเสียงใส อ่านเสียงกึกก้อง พร้อมกับฉาย ให้เห็นตัวอักษรวิ่งบนจอ ดูขลังดี ข้อความที่ปรากฏ ค่อนข้างยาว ทีมผู้เชี่ยวชาญ ที่เตรียมเรื่องนี้ คงต้องไปคิด ไปเขียน รจนาคำพูดกันน่าดูล่ะ

ไหนๆก็คิด-ทำงาน-เรียนรู้ร่วมกันมาพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ถึงคำถามยอดฮิต ของเหล่านักพัฒนาสังคม สำหรับสรุป หรือ ถามในตอนท้ายว่า “ เอ๊ะ...แล้วพวกเราจะทำอะไรกันต่อไป” ก็ไม่แปลกครับ ถัดมาเขาก็มีหัวข้อ เพื่ออภิปรายเป็นกลุ่มใหญ่ (Plenary Sessions) ร่วมกันอีกรอบ ภายใต้หัวข้อว่า

Future Direction of HIA in Asia-Pacific Region (ทิศทางเป้าหมายของการการขับเคลื่อน หรือให้ความสำคัญการประเมินผลกระทบด้านสุขภาวะในอนาคตสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค) คราวนี้มีวิทยากรระดับเชี่ยวชาญมากๆ ขึ้นนำเสนอ จากมหาวิทยาลัยที่นิวซีแลนด์ ตัวแทนองค์การอนามัยโลก ตัวแทนธนาคารโลก และตัวแทนจากคณะกรรมการสาธารณสุขแห่งประเทศไทย มีผู้ดำเนินรายการ คือคุณหมอวิพุฒิ พูลเจริญ ซึ่งเป็นประธานบอร์ด ด้านHIA หนนี้ และคนทำหน้าที่ Rapporteur อีก 2 คน
ถัดมาเป็น การสรุปผลการสัมมนา และรายงานกิจกรรมต่างๆ ที่ทำมาทั้งหมด เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ทราบ สลับกับการเล่าเรื่องนิวซีแลนด์ ซึ่งจะเป็นประเทศเจ้าภาพต่อไป แล้วก็เล่าติดตลก นิดหน่อยว่า คราวนี้ “สนามบินที่กรุงเทพ และเชียงใหม่ เปิดแล้ว” เรียกเสียงฮาจากที่ประชุมใหญ่ (งานชาติหนนี้เลื่อนจากเดือนธันวาคมปี 51 มา เป็นเดือนเมย.52 เนื่องจากเหตุการณ์ไม่เรียบร้อยทางการเมืองในประเทศไทย ในห้วงเวลาดังกล่าว)

สุนทรพจน์ปิดการสัมมนา (Closing Speech) และ Closing Ceremony เขานำเสนอกิจกรรม ที่ทำด้วยกัน ด้วยการฉาย VCD ที่ทำขึ้นเป็นพิเศษ แสงสี เสียงสมบูรณ์ มีเพลงประกอบ ชื่อ What a wonderful world, และอื่นๆ สลับกับลีลา การเคลื่อนภาพที่สรุปให้เห็นเหตุการณ์ อารมณ์ต่างๆ ของผู้เข้าประชุม ตั้งแต่วันแรก จนสุดท้ายในวันนี้ เรียกเสียงฮา น้ำตา รอยยิ้ม...

การสัมมนานานาชาติที่เชียงใหม่ จบลงแล้ว แต่งาน HIA. สำหรับผม และหลายๆคนต้องก้าวต่อๆไป บรรยากาศการเรียนรู้ ที่ผสมผสานกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะเจาะ ในหลากหลายๆมิติ คงทำให้ทุกคนคิด ระลึกถึง จนกลายเป็นความทรงจำดีๆ สำหรับทุกคนไปอีกยาวนาน พวกเรา 2 คน ขอบคุณทุกคนที่กรุณา และคิดถึงพวกเรา

วันที่ 6 พฤษภาคม 2552,
ศพช.เขต 5 ลำปาง

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

เรื่องที่ 7 แจ้งเลื่อนกำหนดการฝึกอบรมสำหรับ รุ่นที่ 3-4,รุ่นที่ 5-6

(สำเนาหนังสือที่ได้แจ้งจว.เชียงราย และพะเยา แล้ว)
มท 0410.3 /ว.199 ศูนย์ช่วยเหลือทางพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ตู้ ป.ณ.9
อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52000

23 เมษายน 2552

เรื่อง โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ปี 2552

เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัด.............
อ้างถึง หนังสือศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่5 ที่ มท 0410.3/ว89 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552
สิ่งที่ส่งมาด้วย รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เลื่อนกำหนดการฝึกอบรมฯ จำนวน 1 ชุด

ตามหนังสือที่อ้างถึง กรมการพัฒนาชุมชนมอบหมายให้ ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 5 ดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนระดับพื้นฐาน”( ผู้นำการพัฒนา) ตามแผนการดำเนินการฝึกอบรมผู้นำชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งมาให้จังหวัดพร้อมหนังสือที่อ้างถึงแล้วนั้น

เนื่องจาก กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 5 ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างคณะผู้บริหารและอาจมีผลกระทบต่อการเบิกจ่ายเงินในการฝึกอบรม ดังนั้น ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 จึงใคร่ขอความร่วมมือจังหวัดได้ประสานสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด เพื่อแจ้งให้ผู้นำในพื้นที่เกี่ยวข้อง เลื่อนการฝึกอบรมผู้นำตามโครงการฯ ดังกล่าว จากวันที่ 27 – 29 เมษายน 2552 เป็นวันที่ 2 – 4 กันยายน 2552 รายละเอียดตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ


(นายประเสริฐ แพ่งพิบูลย์)
นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน
เขตที่ 5



กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล
โทร.0-5422-6739 โทรสาร.0-5422-1272
บุญส่ง เวศยาสิรินทร์ - คัด/ทาน

(หมายเหตุ : รายชื่อ เทศบาล/อบต.เป้าหมาย ที่จะเข้าอบรม รุ่น 3-4 รวม 15 แห่ง และมีการเปลี่ยนแปลงวันอบรมใหม่ ให้ดูบัญชีรายชื่อเก่า ที่ได้กำหนดไว้ - ส่วนรุ่นที่ 5-6 ได้ระบุการเปลี่ยนแปลงวันเวลาไว้แล้วเช่นเดียวกัน -บุญส่ง)

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

เรื่องที่ 6 10 คำถาม/ตอบ ว่าด้วยการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพนักจัดการชุมชน

10 คำถาม - ตอบ
1. การฝึกอบรมทาง ศพช.เขต ทั้ง 12 เขต ได้จัดทำแผนฝึกอบรมฯมาแล้ว โดยจะดำเนินการในระหว่างเดือนเมษายน – สิงหาคม 2552 จะสามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ตามโครงการฯ กำหนดให้ดำเนินการในไตรมาสที่ 3 แต่ก็สามารถดำเนินการต่อเนื่องเลยไปในไตรมาสที่ 4 ได้ แต่ต้องประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้รู้ล่วงหน้า เพราะในช่วงไตรมาสที่ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะนำงบประมาณที่ไม่ได้ใช้ในไตรมาส 1-3 ไปใช้ในโครงการอื่นได้

2. การจ่ายเงินค่าลงทะเบียนเข้าอบรมให้กับทางเขต ซึ่งได้เปิดบัญชีรองรับไว้แล้ว จะกำหนดให้ทุก อปท.ที่เป็นเป้าหมาย โอนเงินให้พร้อมกันทั้งหมด ทั้ง 2,950 อปท. ภายในกลางเดือน มีนาคม 2552 ได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ตามที่ สถ.เคยปฏิบัติมา ให้ศพช.เขต มีหนังสือแจ้ง อปท.เป้าหมาย ว่าเขตจะจัดอบรมรมเขารุ่นที่เท่าไร วันที่เท่าไร หรือส่งแผนให้ อปท. เลือกเองว่า จะอบรมรุ่นไหน โดยให้ส่งแบบตอบรับยืนยัน การเข้าฝึกอบรมไปด้วย (อปท.ละ 10 คน) เมื่อ อปท.เลือกรุ่นแล้ว ให้แจ้ง/ส่งแบบตอบรับคืน ศพช.เขต หลังจากนั้น ศพช.เขต มีหนังสือแจ้งให้ อปท.ดังกล่าว โอนเงินเข้าบัญชี(ของศพช.เขตที่เปิดรองรับไว้แล้ว คนละ 2,000 บาท เป็นค่าฝึกอบรม /ส่วนค่าพาหนะ ผู้นำชุมชนจะเบิกจ่ายจาก อปท.) ก่อนวันฝึกอบรมประมาณ 1 สัปดาห์

3. หลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรม (3 วัน) สามารถใช้ หลักสูตรผู้นำการพัฒนา ที่พช.จัดอบรมไปแล้ว 150 รุ่น ใช่หรือไม่ อย่างไร (พช.จะจัดประชุมพัฒนาหลักสูตรอีกครั้งว วันที่ 16-18 มีนาคม 2552)
ตอบ สามารถใช้ หลักสูตรผู้นำการพัฒนา ที่พช.จัดอบรมไปแล้วได้
4. การติดตามประเมินผล มีตัวชี้วัดหรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไร (ศพช.เขตประเมิน Output อปท.ประเมิน Outcome ใช่หรือไม่)
ตอบ ศพช.เขต ประเมินผลการฝึกอบรม (ประเมิน Output) สำหรับการติดตามประเมินผลให้ประสานกับสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด ตามแนวทางของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

5. การคัดเลือกผู้นำชุมชนที่จะเข้ารับการฝึกอบรม ให้ อปท. เป็นผู้พิจารณาคัดเลือก แล้วส่งรายชื่อ พร้อมโอนเงินค่าลงทะเบียน ให้ทาง ศพช.เขต ใช่หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ตามแนวทางของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ดังนั้น ให้ ศพช.เขต ประสานกับสำนักงานงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด หรือสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด หรือ อปท.โดยตรง ตามข้อ 2
6. ช่วงมอบภารกิจในวันสุดท้าย ทาง สถ.จะจัดทำเอกสาร หรือส่งข้อมูลให้ พช./ศพช.เขต จัดทำเอกสาร ให้กับผู้นำชุมชนที่เข้ารับการอบรม ใช่หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ให้ศพช.เขต พิจารณามอบหมายภารกิจ ตามแนวทางของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ การจัดทำแผนชุมชน สวัสดิการชุมชน การจัดทำข้อมูล จปฐ. กชช.2 ค เพื่อการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น หรือการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน

7. ในกรณี อปท. จะส่งเจ้าหน้าที่ ขรก.ของ อปท.ไปเข้ารับการอบรม รวมกับผู้นำชุมชน จะทำได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ตามระเบียบฯ เงินงบประมาณในสวนที่ไม่ได้ใช้ ก็ต้องตกเป็นเงินเหลือจ่ายคืนคลังไป ไม่ได้ส่งคืนให้ อปท.

8. ในกรณีที่ อปท.โอนเงินให้ ศพช.เขต และศพช.เขต ออกใบเสร็จรับเงินให้ อปท.แล้ว พอถึงวันอบรม ผู้นำชุมชนไม่มาเข้ารับการฝึกอบรมตามกำหนด จะให้ดำเนินการอย่างไร

ตอบ ตามระเบียบฯ เงินงบประมาณในส่วนที่มิได้ใช้ ก็ต้องตกเป็นเงินเหลือจ่ายคืนคลังไป ไม่ได้ส่งคืนคืนให้ อปท.
9. เมื่อผู้นำชุมชนผ่านการอบรมแล้ว ทาง ศพช.เขต จะมีใบวุฒิบัตรในนาม พช./ศพช.เขต ให้แบบเดียวกับที่มอบให้ผู้นำชุมชน 150 รุ่น ในส่วนงบประมาณ พช. ใช่หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ไม่นับรวมใน 10 คน ถ้าในกรณีสมทบ ให้ ศพช.เขต พิจารณาตามความเหมาะสม

10. มีระเบียบบังคับ หรือหนังสือสั่งการ เป็นพิเศษ หรือไม่ เขตสามารถใช้ระเบียบการเงินปกติ/ระเบียบฝึกอบรมปกติได้ ใช่หรือไม่
ตอบ ใช้ระเบียบการเงินปกติ/ระเบียบฝึกอบรม ปี ปกติได้ โดยประสานกับฝ่ายการคลังของ อปท.เป้าหมาย

********************
ปล. สามารถประสานในรายละเอียดต่างๆ ได้ที่
1. คุณสุพิศดา หัวหน้าฝ่ายบัญชี กองคลัง กรมการพัฒนาชุมชน โทร. 02-141-6330
2. คุณกฤษฎา ส่วนส่งเสริมการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วม กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น โทร. 081-560-6960

(บุญส่ง เวศยาสิรินทร์ - คัด/ทาน)

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

เรื่องที่ 5 การเบิกจ่ายตามระเบียบการคลังที่เกี่ยวข้องงบ สถ.

(สำเนา)
สรุปข้อเสนอแนะจากเจ้าหน้าที่กองคลังในการปฏิบัติงาน
อบรมโครงการพัฒนาศักยภาพนักจัดการชุมชน (หลักสูตรผู้นำการพัฒนา) งบประมาณ สถ.
วันที่ 16 – 18 มีนาคม 2552
ณ วิทยาลัยการพัฒนาชุมชน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

1. การเปิดบัญชีฝากธนาคาร ข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินรายได้จากการฝึกอบรมของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ มิได้ระบุไว้ว่าเป็นบัญชีประเภทออมทรัพย์หรือกระแสรายงัน โดยปรกติทั่วไปแล้ว จะเปิดกระแสรายวัน เนื่องจากไม่มีดอกเบี้ย และสามารถสั่งจ่ายเงินให้เจ้าที่เป็นเช็คได้ ทั้งนี้รายได้เกิดจากดอกเบี้ย จะต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
การเปิดบัญชีธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ(ธนาคารกรุงไทย/ออมสิน) ชื่อบัญชี “เงินค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมของ(ส่วนราชการ)” ตามข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินรายได้จากการจัดฝึกอบรมของ ส่วนราช พ.ศ. 2548 ข้อ 5

2. การโอนเงินเข้าบัญชี หลังจากที่ อปท.โอนเงินเข้าบัญชีแล้ว ให้ อปท. ส่งโทรสาร(Fax) ใบนำฝากเงิน (Pay in) พร้อมทั้งรายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ ศพช.เขต ในวันโอนเงินด้วย เพื่อจะได้ออกใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียน กรณีโทรสารมา ช้าไม่ตรงกับวันที่โอนเงิน ให้ จนท.การเงินระบุใส่ในหมายเหตุการณ์รับเงิน ณ วันที่..........
กรณีรับเงินสดในวันที่มาอบรม ให้นำเงินเข้าบัญชีธนาคารฯก่อน จึงจะเบิกมาเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆได้ ซึ่งการรับและการจ่ายเงินไม่ต้องนำฝากคลัง แต่ต้องทำรายการในระบบ GFMIS

3. การออกใบเสร็จรับเงิน ให้ออกเป็นรายบุคคล และออกใบเสร็จตามวันที่เขตรับเงินโอนเข้าบัญชี สำหรับการออกใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียน สามารถออกใบเสร็จรับเงินแยกเล่มจากการออกใบเสร็จรับเงินประเภทอื่นได้ ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 75 (ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินเล่มเดียวกันรับเงินทุกประเภท เว้นแต่เงินประเภทใด ที่มีการรับเงินเป็นประจำ และมีจำนวนมากราย จะแยกใบเสร็จรับเงินเล่มหนึ่งสำหรับการชำระเงินประเภทนั้น ก็ได้)

4. การจัดทำโครงการฯ ให้จัดทำโครงการภาพรวมทั้งหมด ให้ระบุแต่ละกิจกรรม จะอบรมกี่รุ่น อบรมตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ ถึงวันที่เท่าไหร่ สถานที่ไหน ฯลฯ (ของเดือนนั้น) ทำใบรายละเอียดประกอบการอบรมแต่ละรุ่น ให้ระบุวันถัวจ่ายได้ทุกรายการ ขออนุมัติโครงการ
ก่อนเริ่มดำเนินการฝึกอบรมให้บันทึกขออนุมัติดำเนินการ ในแต่ละกิจกรรมว่า จะดำเนินการฝึกอบรมครั้งนี้ จำนวนกี่รุ่น ระหว่างวันที่ สถานที่ ฯลฯ พร้อมทั้งขออนุมัติเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายในแต่ละรุ่นด้วย โดยให้ถัวจ่ายได้ทุกรายการในแต่ละรุ่น แต่ไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายในรุ่นก่อนมากถัวจ่ายรุ่นปัจจุบันได้ เช่น จะนำค่าใช้จ่าย ที่เหลือจากรุ่นที่ 1 มาเบิกจ่ายในรุ่นที่ 2 ไม่ได้ หากสิ้นสุดการฝึกอบรมครั้งนั้นแล้ว หากมีเงินเหลือในแต่ละรุ่นให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ภายใน 30 วัน

5. การจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมให้ใช้จ่ายโดยถือปฏิบัติตามระเบียบ กระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 สำหรับค่าวัสดุ(จัดซื้อ/จัดจ้าง) ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

6. เมื่อได้เงินค่าลงทะเบียนแล้ว ศพช.เขต สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละกิจกรรม ซึ่งอาจมีหลายรุ่นก็ได้

7. ศพช.เขต ควรแจ้งให้อปท.ทราบว่า เมื่อโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว หากผู้เข้าอบรมไม่มาเข้ารับการอบรมตามกำหนด จะไม่มีการคืนเงินกรณีใดๆ ทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน เมื่อวันมารายงานตัว เมื่อเขตทราบว่า จำนวนผู้เข้าอบรมไม่ครบ ให้ดำเนินการเบิกจ่ายค่าใช้เท่าที่ จ่ายจริง เช่น ค่าอาหาร กำหนดไว้ 70 คน ผู้เข้าอบรมมา 65 คน ต้องเบิกจ่ายแค่ 65 คน ยกเว้นวันแรกอาจเบิกจ่ายตามที่กำหนดไว้ 70 คน หากไม่สามารถระงับได้ทัน

8. การเบิกจ่ายค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นบุคลากรของรัฐ จ่ายได้ไม่เกินชั่วโมงละ 600 บาท หากจะเบิกจ่ายสูงกว่าตามที่กำหนดไว้ ต้องทำบันทึกขออนุญาตจาก ผอ.ศพช.เขต โดยระบุสาเหตุ เพราะอะไร เช่น มีความรู้ ความสามารถความชำนาญสูง ฯลฯ หากวิทยากรเป็นบุคคลภายนอกเบิกได้ไม่เกิน ชั่วโมงละ 1,200 บาท ทั้งนี้ ให้เบิกจ่าค่าตอบแทนวิทยากร ดังนี้
- การบรรยาย เบิกค่าตอบแทนวิทยากรไม่เกิน 1 คน
- การเสวนา /การอภิปราย เป็นหมู่คณะ เบิกค่าตอบแทนวิทยากรได้ไม่เกินกลุ่มละ2 คน
- การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ เบิกค่าตอบแทนวิทยากร ได้ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน

9. ค่าอาหารเบิกกรณีครบมื้อ ไม่ครบมื้อ ให้ใช้ระเบียบฯ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฯปี พ.ศ.2549 โดยใช้ใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงิน พร้อมทั้งแนบรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรม เป็นหลักฐานการเบิกจ่าย ไม่ต้องทำจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

10. การเขียนโครงการ ต้องเขียนรายละเอียด โครงการและค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน โดยคำนึ่งถึงความจำเป็นเหมาะสม ประหยัด และเพื่อประโยชน์ของทางราชการ เป็นหลัก สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ นอกเหนือจากวัสดุสำนักงานตามปกติ เช่น การจัดซื้อจ้างทำเสื้อ กระเป๋า ซึ่งมิใช้วัสดุสำหรับการฝึกอบรมนั้น หากมีความจำเป็นต้องจัดซื้อจัดจ้าง ต้องระบุเหตุผลความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และเพื่อประโยชน์ของทางการด้วย เพื่อให้ ผอ. ศพช.เขต ใช้ดุลยพินิจเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฯ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฯพ.ศ. 2549 ข้อ 15 พร้อมทั้งระบุ (ค่าเสื้อ/กระเป๋า จำนวนกี่ใบๆละเท่าไร เป็นเงิน) ไว้ในรายละเอียดค่าใช้จ่ายประกอบโครงการด้วย

11. ค่าประกันชีวิตของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เบิกไม่ได้ เพราะเป็นสวัสดิการส่วนตัว หากต้องการเบิกต้องขอตกลงกับกระทรวงการคลัง

เอกสาร รวม 3 หน้า บุญส่ง เวศยาสิรินทร์- คัด/ทาน

(เพิ่มเติม)
ในกิจการเบิกจ่ายเงินโครงการ นี้ ท่านสามารถประสานรายละเอียดต่างๆ ได้ที่
1) คุณสุพิศดา หัวหน้าฝ่ายบัญชี กองคลัง กรมการพัฒนาชุมชน โทร.0-2141-6330
2) คุณกฤษฎา ส่วนส่งเสริมการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โทร.081-560-6960
3) คุณนงคราญ วงศ์โรง เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ศพช.เขต 5 ลำปาง โทร.085-615-9550

***************

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552

เรื่องที่ 4 ว่าด้วยแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชน

(สำเนา)
แนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพนักจัดการชุมชน
1.หลักการและเหตุผล

กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายในการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพให้กับผู้นำชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงาน โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นคัดเลือกผู้นำชุมชน (หมู่บ้าน/ชุมชน) และเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และการลงทะเบียนให้กับผู้นำชุมชนเข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้นำชุมชนระดับพื้นฐานของกรมการพัฒนาชุมชน

2.วิธีดำเนินการ

2.1สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด ประสานการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และแจ้งแนวทางการดำเนินงานหลักสูตร และระยะเวลาการฝึกอบรมของกรมการพัฒนาชุมชนไปยังเทศบาลทุกแห่งและองค์กรบริหารส่วนตำบลเป้าหมาย (ตามบัญชีรายชื่อ)
2.2เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลเป้าหมาย พิจารณาดำเนิน ดังนี้

(1)เลือกหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมายนำร่อง ที่จะสร้างความเข้มแข็ง โดยใช้ผู้นำชุมชน เป็นแกนหลักดำเนินการในเรื่องพัฒนาต่างๆ อาทิเช่น การจัดทำแผนชุมชน สวัสดิการชุมชน การจัดทำข้อมูล จปฐ. กชช.2ค เพื่อการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น หรือจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน
(2)คัดเลือกผู้นำชุมชนจากหมู่บ้าน/ชุมชนตามข้อ (1) จำนวน 10 คน โดยมีรายการค่าใช้จ่าย คนละ 2,000 บาท ( รวม 25,000 บาท ) รายการต่อคน ดังนี้
-ค่าพาหนะเดินทาง 500 บาท
-ค่าลงทะเบียนเข้าอบรม 2,000 บาท
2.3หลักจากเสร็จสิ้นการอบรม
(1)ผู้นำชุมชนจะนำหลักฐานการรับเงินค่าลงทะเบียน มามอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2)ผู้นำชุมชน อาจได้รับมอบหมายภารกิจในการดำเนินงานในชุมชนจากการฝึกอบรมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาให้การสนับสนุน
(3)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจพิจารณากำหนดภารกิจให้ผู้นำชุมชนดำเนินเพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

3.การติดตามประเมินผล

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรภาคีการพัฒนา จะติดตามประเมินผลทั้งในระหว่างการฝึกอบรม และหลังการฝึกอบรม

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จักได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ตามโครงการดังกล่าวให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป้าหมายต่อไป หากมีปัญหาอุปสรรคใดในการดำเนินงาน ให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดรายงานผลให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบด้วย


(บุญส่ง-ตรวจทาน/คัดลอก)
****************

เรื่องที่ 3 นส.เรื่องเดิมจาก สถ. ถึง อปท.

(สำเนาเรื่องเดิม-ที่หน่วยเหนือ; สถ. ส่งให้ อปท.แล้ว)

ที่ มท 0891.4/ว 208
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ถนนราชสีมา เขตดุสิต กทม. 10300

30 มกราคม 2552

เรื่อง แจ้งแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพนักจัดการชุมชน
เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. เป้าหมายการฝึกอบรมของกรมการพัฒนาชุมชน
2. บัญชีรายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป้าหมายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
3. แนวทางการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ด้วยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพนักจัดการชุมชน โดยส่งเสริมสนับสนุนเทศบาลทุก และองค์การบริหารส่วนตำบลเป้าหมาย บัญชีรายชื่อ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 ให้พิจารณาคัดเลือก หมู่บ้าน/ชุมชน นำร่อง 1 ชุมชน แล้วคัดเลือกผู้นำจากชุมชนนั้นๆ จำนวน 10 คน เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้นำชุมชนระดับพื้นฐาน ของกรมการพัฒนาชุมชน โดยเบิกค่าใช้จ่ายจากเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ประสานการดำเนินงาน ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน กำหนดช่วงเวลาการฝึกอบรม ในช่วงเดือน เมษายน – มิถุนายน 2552 หลักสูตร รุ่นละ 3 วัน ณ ศูนย์ฝึกอบรมกรมการพัฒนาชุมชน หรือสถานที่อื่นที่เหมาะสม

เพื่อประสานการปฏิบัติงานในพื้นที่ร่วมกัน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงขอให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

1.แจ้งแนวทางการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่เป้าหมาย
2.มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดประสานการดำเนินงานระหว่างสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีการดำเนินงานร่วมกัน รายละเอียดตามที่ส่งมาพร้อมนี้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

นายสุกิจ เจริญรัตนกุล
อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น


สำนักส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการมีส่วนร่วม
ส่วนส่งเสริมการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วม
โทร. 0-2241-9000 ต่อ 4122-23 โทรสาร 0-2241-9000 ต่อ 4102,4112

เรื่องที่ 2 รายชื่อ อปท.เป้าหมายในเดือน เมย.52


(ภาพตัวอย่างกิจกรรมการถอดบทเรียน/จัดการความรู้)
แผนการดำเนินการฝึกอบรมผู้นำชุมชนของ อปท. ณ ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่5 ประจำปี 2552 (อบต./เทศบาล ละ 10 คน ระยะเวลาดำเนินการ รุ่นละ 3 วัน)
รุ่นที่ 1 วันที่ 7 – 9 เมษายน 2552 ประกอบด้วย

(1) เทศบาลนครลำปาง อ.เมืองลำปาง
(2) เทศบาลเขลางค์นครลำปาง อ.เมืองลำปาง
(3) เทศบาลตำบลเกาะคา อ.เกาะคา
(4) เทศบาลตำบลลำปางหลวง อ.เกาะคา
(5) เทศบาลตำบลศาลา อ.เกาะคา
(6) เทศบาลตำบลล้อมแรด อ.เถิน
(7) เทศบาลตำบลเวียงมอก อ.เถิน

รุ่นที่ 2 วันที่ 7 – 9 เมษายน 2552 ประกอบด้วย
(1) เทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว อ.เมืองลำปาง
(2) เทศบาลตำบลพิชัย อ.เมืองลำปาง
(3) เทศบาลตำบลเสริมงาม อ.เสริมงาม
(4) เทศบาลตำบลแจ้ห่ม อ.แจ้ห่ม
(5) เทศบาลตำบลบ้านสา อ.แจ้ห่ม
(6) เทศบาลตำบลแม่เมาะ อ.แม่เมาะ
(7) เทศบาลตำบลศิริราช อ.แม่ทะ

รุ่นที่ 3 เดิม วันที่ 27 –29 เมษายน 2552 เปลี่ยนเป็น วันที่ 2-4 กันยายน 2552 ประกอบด้วย
(1) อบต.โป่งงาม อ.แม่สาย จ.เชียงราย
(2) อบต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
(3) อบต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา
(4) อบต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา
(5) อบต.ควร อ.ปง จ.พะเยา
(6) อบต.แม่สุก อ.แม่ใจ จ.พะเยา
(7) อบต.คือเวียง อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา

รุ่นที่ 4 เดิม วันที่ 27 –29 เมษายน 2552 เปลี่ยนเป็นวันที่ 2-4 กันยายน 2552 ประกอบด้วย
(1) อบต.ดงสุวรรณ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
(2) อบต.ดอนศรีชุม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
(3) อบต.แม่นาเรือ อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
(4) อบต.ห้วยแก้ว อ.ภูกามยาว จ.พะเยา
(5) อบต.แม่อิง อ.ภูกามยาว จ.พะเยา
(6) อบต.ห้วยยางขาม อ.จุน จ.พะเยา
(7) อบต.เจดีย์คำ อ.เชียงคำ จ.พะเยา
(8) อบต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา

รุ่นที่ 5 เดิม วันที่ 11-13 พฤษภาคม 2552 เปลี่ยนเป็นวันที่ 7-9 กันยายน 2552
(1) เทศบาลป่าตันนาครัว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
(2) เทศบาลตำบลแม่ทะ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
(3) เทศบาลตำบลน้ำโจ้ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
(4)เทศบาลตำบลนาแก้ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
(5) เทศบาลตำบลแม่ปุ อ.แม่พริก จ.ลำปาง
(6) เทศบาลตำบลแม่พริก อ.แม่พริก จ.ลำปาง
(7) เทศบาลตำบลหลวงเหนือ อ.งาว จ.ลำปาง

รุ่นที่ 6 เดิม วันที่ 11-13 พฤษภาคม 2552 เปลี่ยนเป็น วันที่ 79- กันยายน 2552
(1) เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
(2) เทศบาลตำบลวังเหนือ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
(3) เทศบาลตำบลสบปราบ อ.สบปราบ จ.ลำปาง
(4) เทศบาลตำบลห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
(5) เทศบาลตำบลมะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน
(6) เทศบาลตำบลบ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน
(7) เทศบาลตำบลเวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน

( รุ่นต่อไปคือรุ่นที่ 7 - 37 ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม 2552 ดังนั้น รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น2,620 คน )

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

เรื่องที่ 1 ประสานอปท.เรื่องการฝึกอบรมผู้นำท้องถิ่นฯเดือนเมย.52


สำเนาหนังสือไม่เป็นทางการเพื่อการติดต่อ/ประสานงาน /ประชาสัมพันธ์โครงการ

ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 จังหวัดลำปาง กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล
83 หมู่ที่ 10 ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โทร.054-226-739 โทรสาร 054-221-272

ที่ พิเศษ 01 / 2552 (ด่วนมาก)

31 มีนาคม พ.ศ. 2552
เรื่อง การประสานงานการฝึกอบรมผู้นำชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเหนือตอนบน
เรียน นายก อบต./ เทศบาลตำบล/ อำเภอ ที่เกี่ยวข้อง
สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวทางการดำเนินโครงการ/แนวทางเบิกจ่ายงบประมาณ รวม 3 ชุด

ตามที่ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน ได้มีข้อตกลงร่วม โดยให้ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต ในแต่ละภาค ดำเนินการ ฝึกอบรมผู้นำชุมชน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั่วประเทศ รวม 2,950 แห่ง โดย กำหนดให้ อปท.พิจารณาเลือกหมู่บ้านเป้าหมายนำร่องของตัวเอง และคัดเลือกผู้นำชุมชนที่เหมาะสมในหมู่บ้านดังกล่าว จำนวน 10 คน เดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรม หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามห้วงเวลาที่กำหนดไว้แล้ว หลักสูตรละ 3 วัน
โดย บัดนี้ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ทำการโอนเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในการนี้ แก่ อปท. เป้าหมายแล้ว แห่งละ 25,000 บาท(สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กระผม ขออนุญาตแจ้ง/ประสานมา ยังผู้เกี่ยวข้อง อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ในการปฏิบัติ ดังนี้ครับ

1) ขอได้โปรดศึกษาแนวทางการดำเนินโครงการฯและบันทึกข้อความเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย/การเบิกจ่าย ที่แนบมาเพิ่มเติม บางส่วนพร้อมนี้ รวม 3 ฉบับ (ทั้งนี้ เพื่อความสะดวก ขอให้ อปท. ดำเนินการเบิกจ่ายและโอนงบประมาณ ให้หน่วยดำเนินการฝึกอบรม ก่อนดำเนินการ 7 วัน) และ

2) เพื่อโปรดทราบ ในการคัดเลือก และสนับสนุนกลุ่มเป้าหมาย ในอปท.ของท่าน จำนวน 10 คน เดินทางไปประชุม/ฝึกอบรม โดยพร้อมเพรียงกัน ณ ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 5 จังหวัดลำปาง ตามปฏิทินที่ ส่วนกลาง กำหนดไว้แล้วในแต่ละรุ่น

กระผมขอแจ้ง และประสานความร่วมมือ เพิ่มเติม เพื่อจะได้ถือปฏิบัติ และส่งเสริมการพัฒนาภาคประชาชน ในพื้นที่ของ อปท. ร่วมกัน หากมีข้อสงสัย หรือไม่สะดวกใดๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ ผู้ประสานงาน คือ คุณบุญส่ง เวศยาสิรินทร์ โทร.086-7283761, อีเมล K_rongv@hotmail.com หรือที่ คุณสงัด หมื่นตาบุตร โทร.081-8844112
ผู้ประสานงานโครงการทั้งสอง ยินดีให้คำแนะนำ

ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

ลายเซ็น
นายบุญส่ง เวศยาสิรินทร์)
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
ผู้ประสานงานโครงการฯ, ศพช.เขต5 ลำปาง