คำนำ ขณะนี้ ศพช. เขต 5 มีการเผยแพร่และนำ หลักการการวิจัยที่เรียกกัน โดยย่อว่า PAR เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการพัฒนาชุมชน ผมพบเอกสารเก่าที่เคยทำไว้เมื่อปี 48 จึงนำมาเสนออีกครั้ง สำหรับเพื่อนพ้องที่สนใจ (การเปรียบเทียบเดิมเขียนเป็นช่องตาราง แต่ในBlog ทำไม่ได้)จึงเสนอไว้เช่นนี้ โปรดพิจารณาเอาเอง หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้าง
-----------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบการวิจัย PAR) กับการวิจัยทั่วไป และเปรียบเทียบกับ วิธีการพัฒนาชุมชน
กระบวนการค้นหาปัญหาหรือวิจัยแบบเก่า (Problem Solving process)
1. การกำหนดปัญหา(Problem Solving process)
2.วิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
3.กำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting)
4.วางแผนแก้ไขปัญหา (Planning)
5.ปฏิบัติการตามแผน (Implementing)
6.ติดตาม ประเมินผล (Monitor and Evaluate)
---------------------------------------------------------
แต่ กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR Process)
ก.ขั้นวิเคราะห์สถานการณ์ชุมชน
1.นักพัฒนาลงสู่ชุมชน และศึกษาเรียนรู้กับชุมชน โดย
-ร่วมค้นหา ระบุประเด็นปัญหา ที่จะนำไปสู่การกำหนดเป็นหัวข้อวิจัย ร่วมกัน
-เลือกทีมทำงานวิจัย ( เพื่อค้นหาคำตอบวิจัย)
2. ฝึกอบรมนักวิจัยชาวบ้าน (รอบที่ 1)
3. ปฏิบัติการวิจัย
4.ฝึกอบรมนักวิจัยชาวบ้าน (รอบที่2)
5.ปฏิบัติการวิจัย
-รวบรวม/วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้
-กำหนดคณะทำงานวางแผนแก้ไขปัญหาจากการวิจัยที่ค้นพบ
-ให้ความเห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหา
ข.ขั้นวางแผนปฏิบัติการในชุมชน
-ฝึกอบรมคณะกรรมการวางแผนชุมชน
-ให้คำปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-จัดทำข้อเสนอโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทุน(หรือขับเคลื่อนกันเอง)
ค.ขั้นปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้
-ติดตาม
-ประเมินผลโครงการ
ง.ขั้นสร้างความเข้มแข็งศักยภาพชุมชนต่อ
-------------------------------------------------------
ความหมายคำต่างๆที่ต้องทำความเข้าใจร่วมกัน
1. นักวิจัย หมายถึง นักพัฒนาชุมชน + ชาวบ้าน + คนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสิทธิ์เป็นนักวิจัยได้ทุกคน
2. การวิจัย หมายถึง กระบวนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ค้นหาคำตอบสิ่งต่างๆอย่างมีระบบ ขั้นตอน โดยบ้านเอง ซึ่งเป็นคนในชุมชน
3. โครงการ/กิจกรรม หมายถึงสิ่งที่ชาวบ้าน และนักพัฒนาร่วมกันทำ(Action) เป็นผลิตผลการวิจัยแบบมีส่วนร่วมที่สำคัญ
4.การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ไม่เน้นรูปแบบที่ตายตัวเหมือน หรือต้องเขียนเป็นเอกสารรูปเล่ม หรือเป็นเชิงวิชาการเหมือนงานวิจัยทั่วไป โดยชาวบ้านร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ คิดค้นปัญหา ชาวบ้านแก้ไขปัญหา ชาวบ้านติดตามประเมินผล ชาวบ้านพอใจมีความสุข – นักพัฒนาเข้าไปกระตุ้น ร่วมส่งเสริม ร่วมปฏิบัติให้เกิดกระบวนการนี้ขึ้น
สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการฯ(PAR) เป็นเรื่องของการทำงานแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน โดย คนทุกคนได้มีส่วนร่วม เป็นผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง แล้วนำไปสู่การกระทำ แก้ไขปัญหา ร่วมกัน สนุก เรียนรู้ รับผลประโยชน์ร่วมกัน ชาวบ้านทุกคนเป็นนักวิจัยได้
ส่วนหลักวิธีการพัฒนาชุมชน เมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า มีความเหมือนกับกระบวนการ PAR. คือ วิธีการทั้งสองอย่าง เน้นการเข้าไปคลุกคลีทำงานกับชุมชน แล้วพยายามหาคำตอบ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ที่มีอยู่ในชุมชน โดยมักใช้คำถามพื้นฐาน หลักอยู่ 5 คำถาม คือ
· สิ่งนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร หรือ (What is ?)
· ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น (Why it is?)
· อะไร (อาจ) จะเกิดขึ้น ถ้าหากว่า..................(What would happen if……..)
· อะไรบ้างที่จะเป็นตัวช่วยให้เกิดการเรียนรู้ หรือแก้ไขปัญหาได้? (What would stimulate?)
· แล้ว เราจะน่าจะทำอะไรต่อไป (What should be done?)
ลองเข้าไปหาชุมชน พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับชาวบ้าน ในสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมที่เขาเป็นอยู่จริง แล้วพยายามตั้งคำถาม เหล่านี้ร่วมกัน เมื่อใดที่คนในชุมชนตั่งคำถามวิจัยเหล่านี้ ก็รีบสนับสนุนเขาเถอะ นั่นแสดงว่า กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกำลังจะเกิดขึ้น รีบสนับสนุนส่งเสริมเขาได้ทันที ท่านก็จะได้เรียนรู้ ชุมชนก็จะได้เรียนรู้ (เป็นนักวิจัย) แล้วปฏิบัติการ (Action) ต่างๆ จะเกิดขึ้น แล้วทุกคนจะมีความสุขจากการทำงานร่วมกัน
ที่มา : แปล และเรียบเรียงจาก (สำหรับการบรรยาย เมื่อ 25 มกราคม 2548) จาก
1. Community Organizing - Participatory Action Research (CO-PAR) by Luz Canve Anung et all, Institute of Primary Health Care, Davao Medical school Foundation, Ateneo De Davao University, Philippines, 1992
2. Community Development Theory by James B. Cook Department of Community Development University of Missouri, U.S.A
5 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น